วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08.00 น. สคบ. จัดโครงการ “ประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ SWOT และทบทวนแผนยุทธศาสตร์ การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560 – 2564 โดยรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี (นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ) เป็นประธานเปิดโครงการฯ ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
นายสรอัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ รองเลขาธิการ สคบ. และนายสุวิทย์ วิจิตโสภา ผู้อำนวยการ สผพ. ได้สรุปผลแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560 – 2564) ว่า ซึ่งมีคำสั่งเพิ่มเติมมากขึ้น และครอบคลุมเนื่องจากฉบับที่เพิ่งจะประกาศใช้นั้นมีความล้าหลังไปแล้ว
ปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ และผลการดําเนินการที่ผ่านมา พบปัญหาดังนี้
1. แผนยุทธศาสตร์ฯ ยังมีความล้าสมัย และยังไม่สอดคล้องกับแผนระดับต่างๆ ที่เพิ่งประกาศใช้
2. ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ไม่สะท้อนถึงตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ จึงทําให้หน่วยงานมีภาระที่ต้องดําเนินโครงการ/ กิจกรรมเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดทั้งระดับกลยุทธ์และยุทธศาสตร์
3. ตัวชี้วัดบางส่วนนํามาวัดผลและประเมินผลได้ยาก และบางส่วนขาดความยืดหยุ่น กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ เนื่องจากเป็นแผนระดับชาติตัวชี้วัดควรมีลักษณะเป็นตัวชี้วัดร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
4. แผนยุทธศาสตร์ฯ มีการระบุโครงการงบประมาณไว้อย่างชัดเจน ทําให้ขาดความยืดหยุ่นต่อการดําเนินงาน ของหน่วยงาน และบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งผลผลิตของบางโครงการที่ระบุไว้ภายใต้แผนดังกล่าว ไม่สามารถตอบตัวชี้วัดได้
5. แผนยุทธศาสตร์ฯ ไม่มีคําอธิบายตัวชี้วัดและไม่มีข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Data) เพื่อใช้ในการการติดตาม และประเมินผล ซึ่งแผนฉบับดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน และมีวิธีการเก็บผลผลิตของโครงการที่แตกต่างกัน จึงจําเป็นที่จะต้องมีข้อมูลดังกล่าว
โดยคำสั่งการเพิ่มเติมประกอบด้วย
1. ให้ความสําคัญกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเป็นอันดับแรก ครอบคลุมทุกประเภทธุรกิจ โดยร่วมกับหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรง
2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบธุรกิจให้มีความเชื่อมโยงกัน เพื่อใช้ในการพิจารณาออกใบอนุญาต และใช้ในการติดตามคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป
3. พัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้สิทธิ ผู้บริโภคที่ถูกต้อง กระบวนการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และลดความขัดแย้งระหว่าง ประชาชนกับภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวยังมีการจะเพิ่มข้อเสนอ Big Projects ที่เกี่ยวกับประเด็นการซื้อขายออนไลน์ การทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ประเด็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพผ่านสื่อต่างๆ ประเด็นการขายตรงและตลาดแบบตรง ประเด็นการเฝ้าระวังและเตือนภัยสินค้า ประเด็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ประเด็นการใช้บริการสถานเสริมความงาม ประเด็นการกระจายอํานาจการคุ้มครองผู้บริโภคลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประเด็นการลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและกําจัดขยะส่วนเกินให้หมด
การคุ้มครองผู้บริโภคของ สคบ.เป็นไปอย่างช้า เพราะปัจจุบันเรามีการบริโภคที่หลากหลาย ทำให้มีการร้องทุกข์และร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดผู้บริโภคมากขึ้น โดยสถิติการร้องเรียนที่มากทำให้การแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีของ สคบ. ดำเนินการได้อย่างไม่ทันการ และยังผูกกับหน่วยงานอื่นๆ เนื่องจาก สคบ. ไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการ เช่น ประเด็นที่เกี่ยวกับอาหารและยา ประเด็นของสื่อ ประเด็นที่เกี่ยวกับการขนส่ง หรือประเด็นที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เป็นต้น
สำหรับในอนาคต สคบ. จะแก้ไขปัญหาด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับกรมการปกครอง กระทวงมหาดไทย เพื่อจะได้มีข้อมูลของประชาชนในฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ รวมทั้งเชื่อมโยงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ เพื่อจะได้มีฐานข้อมูลของผู้ประกอบการเพิ่มเติมในฐานข้อมูลการวิเคราะห์ในอนาคต