1Like1Vote เผยแพร่ผลการ รายงานผลสำรวจความคิดเห็นคนรุ่นใหม่กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ.2562 เพื่อนำเสนอประเด็นต่างๆ ให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้นำไปใช้งาน และการพัฒนาประเทศต่อไป ผ่านการสำรวจทางออนไลน์ โดย 1like1vote หนึ่งในโครงการของ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด ร่วมกับเฟสบุ๊คแฟนเพจ ชวนหาเรื่อง , Beevoice , JobBKK , Admission Premium และ Eduzones ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14 – 30 ตุลาคม 2561 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 4,263 คน สำหรับแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาทางสังคม และส่วนที่ 3 ความสนใจและการตื่นตัวทางการเมือง สรุปประเด็นได้ดังนี้
เมื่อถามถึงคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีประเด็นที่เป็นไฮไลต์นี้ กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป มองว่าอันดับแรกต้องสังกัดพรรคการเมือง ตามมาด้วยพลเรือน และควรมีอายุระหว่าง 40-65 ปี ส่วนกลุ่มที่อายุ 18 – 25 ปี มองว่าอันดับที่ 1 ต้องเป็นพลเรือน ตามมาด้วยควรสังกัดพรรคการเมือง และควรเป็นผู้ชาย ซึ่งจะสังเกตได้ว่า เมื่อดูจากอันดับทั้งสองกลุ่มนั้นมองว่า ผู้หญิงไม่เหมาะกับการเป็นนายกรัฐมนตรี
1. คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี
อันดับที่ |
กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป | กลุ่มที่อายุ 18 – 25 ปี |
1 | ควรสังกัดพรรคการเมือง | ควรเป็นพลเรือน |
2 | ควรเป็นพลเรือน | ควรสังกัดพรรคการเมือง |
3 | ควรมีอายุระหว่าง 40-65 ปี | ควรเป็นผู้ชาย |
4 | ควรเป็นผู้ชาย | เป็นใครก็ได้ |
5 | เป็นใครก็ได้ | ควรมีอายุระหว่าง 40-65 ปี |
6 | เป็นใครก็ได้ที่ สส.เลือก | ควรเป็นอดีตข้าราชการ |
7 | เป็นใครก็ได้ที่ รัฐสภา เลือก | เป็นใครก็ได้ที่ รัฐสภา เลือก |
8 | ควรเป็นอดีตข้าราชการ | ควรเป็นผู้หญิง |
9 | ควรเป็นผู้หญิง |
เป็นใครก็ได้ที่ สส.เลือก |
ขณะที่คำถามว่ามีพรรคการมืองหรืออผู้สมัครลงเลือกตั้ง สส. อยู่ในใจหรือไม่ ทั้งสองกลุ่มมองว่า ยังไม่มี เพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะตัดสินใจและยังไม่มี เพราะไม่ได้ติดตามข้อมูลการเลือกตั้ง
2. หากมีการเลือกตั้งขณะนี้ พรรคการเมืองหรือผู้สมัครลงเลือกตั้ง สส. ที่อยู่ในใจ
อันดับที่ | กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป | กลุ่มที่อายุ 18 – 25 ปี |
1 | ยังไม่มี เพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะตัดสินใจ | ยังไม่มี เพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะตัดสินใจ |
2 | มีแล้ว แต่อาจจะเปลี่ยนได้หากมีพรรคหรือผู้สมัครอื่นที่เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า | ยังไม่มี เพราะไม่ได้ติดตามข้อมูลการเลือกตั้ง |
3 | ยังไม่มี เพราะไม่ได้ติดตามข้อมูลการเลือกตั้ง | มีแล้ว แต่อาจจะเปลี่ยนได้หากมีพรรคหรือผู้สมัครอื่นที่เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า |
4 | ยังไม่มี เพราะยังไม่มีพรรคหรือผู้สมัครที่คิดว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม | ยังไม่มี เพราะยังไม่มีพรรคหรือผู้สมัครที่คิดว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม |
5 | มีแล้ว และไม่เปลี่ยนใจแน่นอน |
มีแล้ว และไม่เปลี่ยนใจแน่นอน |
นอกจากนี้ ทั้งสองกลุ่มยังเห็นพ้องกันอีกว่า ปัจจัยภายในที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครของกลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป คือ เรื่องนโยบาย ตามมาด้วยผู้สมัครของพรรค และความเชื่อทางการเมืองส่วนตัว ส่วนปัจจัยภายนอกของกลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป คือ คำแนะนำของสื่อ ตามมาด้วยคำแนะนำของผู้ที่ตนเองชื่นชอบ (ไม่ใช่บุคคลในคำตอบด้านบน) ผ่านทาง Social Media และคำแนะนำของครอบครัว ส่วนกลุ่มที่อายุ 18 – 25 ปี มองว่า ปัจจัยภายในที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัคร อันดับ 1 คือ นโยบายของพรรค ตามมาด้วยผู้บริหารพรรค และหัวหน้าพรรค ส่วนปัจจัยภายนอก คือ คำแนะนำของครอบครัว ตามมาด้วยคำแนะนำของสื่อ และคำแนะนำของผู้ที่ตนเองชื่นชอบ (ไม่ใช่บุคคลในคำตอบด้านบน) ผ่านทาง Social Media
ด้านการรับข่าวสารผ่านสื่ออะไรบ้างนั้นกลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป หากเป็นสื่อหลักอันดับหนึ่งคือ Facebook ของสื่อสิ่งพิมพ์/วิทยุ/โทรทัศน์ ตามมาด้วย Facebook Page อื่นๆ และสื่อโทรทัศน์ ส่วนสื่อที่เป็นระหว่างสังคมนั้นกลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไปบอกว่า ได้รับข่าวสารทางการเมืองอันดับที่หนึ่งคือ จากโพสต์บน Facebook ของเพื่อน ตามมาด้วยจากโพสต์ บน Facebook ที่เพื่อนแชร์ และการบอกเล่าของคนที่ทำงาน
ส่วนการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาทางสังคมผ่านสื่ออะไรบ้างนั้นกลุ่มที่ 18 – 25 ปี หากเป็นสื่อหลักอันดับหนึ่งคือ Facebook ของสื่อสิ่งพิมพ์/วิทยุ/โทรทัศน์ ตามมาด้วย Facebook Page อื่นๆ และสื่อโทรทัศน์ ซึ่งไม่ต่างจากกลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป แต่จะต่างตรงที่สื่อที่เป็นระหว่างสังคมนั้น กลุ่มที่ 18 – 25 ปี ได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาทางสังคมอันดับที่หนึ่งคือ การบอกเล่าของเพื่อน ตามมาด้วยจากโพสต์ บน Facebook ที่เพื่อนแชร์ และจากโพสต์บน Facebook ของเพื่อน
3. ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัคร
- ปัจจัยที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง
อันดับที่ | กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป | กลุ่มที่อายุ 18-25 ปี |
1 | นโยบายของพรรค | นโยบายของพรรค |
2 | ผู้สมัครของพรรค | ผู้บริหารพรรค |
3 | ความเชื่อทางการเมืองส่วนตัว | หัวหน้าพรรค |
4 | หัวหน้าพรรค | ความเชื่อทางการเมืองส่วนตัว |
5 | ผู้บริหารพรรค | ผู้สมัครของพรรค |
6 | ชื่อเสียงพรรค | ชื่อเสียงพรรค |
- ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมือง
อันดับที่ | กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป | กลุ่มที่อายุ 18-25 ปี |
1 | คำแนะนำของสื่อ | คำแนะนำของครอบครัว |
2 | คำแนะนำของผู้ที่ตนเองชื่นชอบ (ไม่ใช่บุคคลในคำตอบด้านบน) ผ่านทาง Social Media | คำแนะนำของสื่อ |
3 | คำแนะนำของครอบครัว | คำแนะนำของผู้ที่ตนเองชื่นชอบ (ไม่ใช่บุคคลในคำตอบด้านบน) ผ่านทาง Social Media |
4 | คำแนะนำของดาราและศิลปิน | คำแนะนำของดาราและศิลปิน |
5 | คำแนะนำของเพื่อน | คำแนะนำของเพื่อน |
หากในอนาคตมีการเลื่อนเลือกตั้งออกไปอีกนั้น ทั้งสองกลุ่มมองต่างกันอย่างสิ้นเชิงโดยกลุ่มคนที่เกิดกลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป มองว่า ไม่รู้สึกอะไร ส่วนกลุ่มที่อายุ 18 – 25 ปี นั้นกลับไม่พอในอย่างมาก
4. ความรู้สึกหากมีการเลื่อนเลือกตั้งไปจาก พ.ค. 2562 ออกไป
อันดับที่ | กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป | กลุ่มที่อายุ 18-25 ปี |
1 | เฉย ๆ / ไม่รู้สึกอะไร | ไม่พอใจมาก |
2 | ไม่พอใจมาก | เฉย ๆ / ไม่รู้สึกอะไร |
3 | ไม่พอใจ | ไม่พอใจ |
4 | ดีใจมาก | ดีใจมาก |
5 | ดีใจ | ดีใจ |
ด้านประเด็นในหมวดความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมเมื่อถามถึงปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาด้านใดบ้าง จำนวน 17 ปัญหา กลุ่มที่อายุ 24 ปีขึ้นไป มองว่า 3 อันดับแรกคือ ด้านยาเสพติด อันดับที่สองคือ ด้านจราจร อันดับที่สามคือ ด้านเศรษฐกิจ ส่วนกลุ่มที่อายุ 18-25 ปี มองว่าอันดับแรกคือ ด้านเศรษฐกิจ อันดับที่สองคือ ด้านยาเสพติด อันดับที่สามคือ ด้านจราจร
5. ปัญหาปัจจุบันของประเทศไทย
อันดับ | กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป | กลุ่มที่อายุ 18-25 ปี |
1 | ด้านยาเสพติด | ด้านเศรษฐกิจ |
2 | ด้านจราจร | ด้านยาเสพติด |
3 | ด้านเศรษฐกิจ | ด้านจราจร |
4 | ด้านการกระจายรายได้ | ด้านการศึกษา |
5 | ด้านเด็กและวัยรุ่น | ด้านขยะ |
6 | ด้านการศึกษา | ด้านการกระจายรายได้ |
7 | ด้านปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ | ด้านเด็กและวัยรุ่น |
8 | ด้านขยะ | ด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น |
9 | ด้านการพนัน | ด้านปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ |
10 | ด้านการผังเมือง | ด้านสิ่งแวดล้อม |
11 | ด้านสิ่งแวดล้อม | ด้านการให้บริการของรัฐ |
12 | ด้านสาธารณสุข | ด้านการผังเมือง |
13 | ด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น | ด้านการพนัน |
14 | ด้านสุขภาพของประชาชน | ด้านสาธารณสุข |
15 | ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | ด้านสุขภาพของประชาชน |
16 | ด้านการให้บริการของรัฐ | ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
17 | ด้านภัยพิบัติจากธรรมชาติ | ด้านภัยพิบัติจากธรรมชาติ |
ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข ทั้งสองกลุ่มกลับมองไม่ต่างกันมาก โดยกลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป คิดว่าปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขคือ ด้านเศรษฐกิจ ตามมาด้วยด้านยาเสพติด และด้านรายได้ ส่วนกลุ่มที่อายุ 18-25 ปี มองว่าเป็นด้านเศรษฐกิจ ตามมาด้วยด้านยาแสพติด และด้านเด็กและวัยรุ่น
สำหรับการให้คะแนนรัฐบาลปัจจุบันในการแก้ไขปัญหาต่างๆ กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป ให้คะแนนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณะสุขมาเป็นอันดับที่ 1 ตามมาด้วยด้านการกระจายรายได้ และด้านขยะ ส่วนกลุ่มที่อายุ 18-25 ปี ให้คะแนนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพประชาชนมาเป็นอันดับที่ 1 ตามมาด้วยด้านสาธารณสุข และด้านการพนัน
3. คะแนนรัฐบาลปัจจุบันในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
อันดับ | กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป | กลุ่มที่อายุ 18-25 ปี |
1 | ด้านสาธารณสุข | ด้านสุขภาพของประชาชน |
2 | ด้านการกระจายรายได้ | ด้านสาธารณสุข |
3 | ด้านขยะ | ด้านการพนัน |
4 | ด้านการให้บริการของรัฐ | ด้านการศึกษา |
5 | ด้านภัยพิบัติจากธรรมชาติ | ด้านขยะ |
6 | ด้านปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ | ด้านจราจร |
7 | ด้านยาเสพติด | ด้านปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ |
8 | ด้านเด็กและวัยรุ่น | ด้านเด็กและวัยรุ่น |
9 | ด้านจราจร | ด้านการกระจายรายได้ |
10 | ด้านการศึกษา | ด้านยาเสพติด |
11 | ด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น | ด้านการให้บริการของรัฐ |
12 | ด้านการผังเมือง | ด้านเศรษฐกิจ |
13 | ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน | ด้านภัยพิบัติจากธรรมชาติ |
14 | ด้านสิ่งแวดล้อม | ด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น |
15 | ด้านเศรษฐกิจ | ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
16 | ด้านสุขภาพของประชาชน | ด้านการผังเมือง |
17 | ด้านการพนัน | ด้านสิ่งแวดล้อม |
ด้านการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของสังคม กลุ่มที่อายุ 25 ปีขึ้นไป มองในทิศทางเดียวกันกับ กลุ่มที่อายุ 18-25 ปี ที่ระบุว่า การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของสังคม โดยการวางตัวเป็นคนไม่สร้างปัญหา คือการแสดงถึงการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทางสังคมของพวกเขา
เมื่อถามถึงด้านหมวดความสนใจและตื่นตัวทางการเมือง ผู้ทำสำรวจทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคทางการเมือง และเมื่อถามว่ามีแนวโน้มจะเป็นสมาชิกพรรคทางการเมืองหรือไม่นั้น ทั้งสองกลุ่มยังไม่มีความสนใจ ส่วนด้านปัจจัยที่ทำให้เป็นสมาชิกพรรคทางการเมืองทั้งสองกลุ่มเห็นตรงกันว่า อันดับที่ 1 คือ นโยบายพรรค ตามมาด้วยผู้บริหารพรรค และหัวหน้าพรรค