ประเทศไทยเคยได้รับขนานนามว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน เนื่องจากความสวยงามของธรรมชาติและจากการโปรโมทกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการโหมประโคมส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งผลให้ภาวะนักท่องเที่ยวล้น ปัญหาแนวปะการังเสียหาย น้ำทะเลเสียจากเรือ และสัตว์ทะเลถูกรบกวน
กรมอุทยานฯ ประกาศปิดเกาะฝั่งอันดามัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากท่องเที่ยว
ภายในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติทางทะเลให้เป็นไปตามความสามารถในการรองรับได้” โดยความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้สรุปปัญหาทางทะเลดังนี้
- ความแออัดของนักท่องเที่ยว
- คราบน้ำมันจากเรือโดยสาร
- การจัดการขยะ
- ปะการังและสัตว์น้ำ
กรมอุทยานฯ จึงวางมาตรการในการแก้ปัญหา โดยการกระจายนักท่องเที่ยวจากหมู่เกาะสิมิลัน ไปเกาะอื่นเช่น เกาะงวงช้าง และตั้งท่าเรือลอยน้ำ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อปะการัง รวมถึงกำหนดโควตานักท่องเที่ยว
นอกจากนี้ กรมอุทยานฯ ประกาศปิดเกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.- 15 ต.ค.61 บริเวณพื้นที่บนเกาะ ชายหาด แนวปะการังรอบอุทยานฯ เนื่องจากจะเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุม คลื่นลมแรง ป้องกันอันตรายจากการท่องเที่ยว และให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว
แก้ไม่ตรงจุด ผู้ประกอบการมองกระจายนักท่องเที่ยวไปเกาะอื่นก็ไปทำลายที่อื่นต่อ
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Torphong Wongsathienchai หนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตราการอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงการเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจผ่าน Facebook ส่วนตัวว่า สถานการณ์ตอนนี้ “การท่องเที่ยวถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ร้ายทำลายทรัพยากร จึงถูกปิด จำกัด และมีมาตรการแบบฉุกละหุกก่อนจะเปิดฤดูท่องเที่ยวเพียงไม่กี่วัน”
โดยมี Topic ที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้ร้ายทำลายทรัพยากรธรรมชาติว่าไม่ได้มาจากการท่องเที่ยวทั้งหมด และกำลังกลายเป็นแพะรับบาป เนื่องจาก 3 ปีก่อน เกาะสิมิลัน มีบริษัทเพียง 10 กว่าแห่ง และทางผู้ฝั่งผู้ประกอบการได้เคยเสนอให้มีการจำกัด แต่ไม่เกิดขึ้น 3 ปีต่อมากลายเป็น 53 บริษัท อุทยานฯ แถลงวันนี้ว่า มีบริษัทที่เดินเรือจริงๆ เพียง 30 บริษัท อีกประมาณ 20 กว่าบริษัท ไม่ได้ดำเนินการเอง หรือเป็นเรือเช่า อาจมาให้บริการช่วงเทศกาลระยะเวลาสั้นๆ แล้วลงทะเบียนไว้ ก็ได้สิทธิ์และโควต้าเท่ากับบริษัทที่ทำงานทะเลทำเป็นงานหลักมาเป็น 10 ปี
ผู้ประกอบการหลายคนอาจเห็นว่าเป็นข่าวดีของเกาะต่างๆ แต่คิดว่าคงไม่ใช่ข่าวดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพราะนักท่องเที่ยวก็จะแห่ย้ายกันไปสร้างผลกระทบในที่แห่งใหม่ เพาะอดีตถึงปัจจุบันไม่มีแผนการใดๆ รองรับเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือยกระดับการท่องเที่ยวคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรม