“หยุดแชร์! กรมสรรพากรแจง 1 ต.ค. รัฐบาลขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 9
วอนยุติแชร์ข่าวเก่า ‘เล็งขึ้นภาษีรถยนต์อายุเกิน 7 ปี’
ขอร้องอย่าแชร์ข่าวเก่า ‘แว้นแสบ’ปิดถนนซิ่งบนทางด่วน
กลุ่มต้านคสช.โหมแชร์ข่าวเก่า! ‘ไพศาล’ จวกบิดเบือนคำวินิจฉัย ‘หมักชิมไปบ่นไป’”
ไม่ใช่แค่การแชร์ข่าวลือหรือข่าวมั่ว ทุกวันนี้คนแชร์ข่าวเก่าแบบไม่คิด เนื่องจาก Topic นั้นสามารถสร้างประเด็นได้จนส่งผลถึงเป้าหมายบางอย่าง ‘สื่อจึงเป็นเครื่องมือของเหล่าผู้มีอำนาจเสมอ’
อำนาจของสื่อมีพลังแค่ไหน?
มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) นักปรัชญาคนสำคัญของโลก ที่ปลดเปลื้องความคิดของคนในศตวรรษที่ 20 เคยกล่าวไว้ว่า “สื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจอันได้ผลชะงัด ผู้ใดครอบครองสื่อผู้นั้นก็เป็นเจ้าของอำนาจ” สื่อจึงมีอำนาจในการโน้มน้าวสังคมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอิทธิพลในการตัดสินใจของผู้บริโภค จนได้รับการขนานนามว่า ‘ฐานันดรที่สี่’ (The Fourth Estate) ต่อจากพระมหากษัตริย์ ศาสนจักร และรัฐสภา
‘ข่าว’ ตามหน้าแพลตฟอร์มออนไลน์ปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยนัยยะแฝงอันซ้อนเร้น
- มุ่งหวังประโยชน์ทางการเมือง
ตัวอย่างบทสัมภาษณ์อันแปลกประหลาดที่ไม่เหมือน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ตอบเอง
‘บิ๊กป้อม‘ คุยกับเราที่นี่! หลังโดนกระแส เกาะโต๊ะโจมตี ย้อนเปิดใจทุกมุมชีวิต
ตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อมุ่งหวังประโยชน์ทางการเมือง

hate speech ในช่วง 6 ตุลาคม 2519
2. มุ่งหวังประโยชน์ทางธุรกิจ ตลาดหุ้น คือ ตัวอย่างของผลสัมฤทธิ์จากการใช้สื่อได้เป็นอย่างดี กลยุทธ์ปล่อยข่าวลือเพื่อให้แมงเม่านักลงทุนใจเสาะเทขายในราคาถูก ก่อนจะช้อนจนราคาดีดขึ้นสูง สร้างกำไรใส่กระเป๋าให้กลุ่มบางกลุ่มมานักต่อนักแล้ว
ตัวอย่าง พ่อมดการเงิน George Soros ต้องการที่จะเขย่าหุ้นของ Facebook กับ Google ด้วยการออกมาโจมตีแบบรุนแรง

Soros ในเวทีประชุม World Economic Forum ที่ดาวอสบอกว่า ทั้งอัลกอริทึ่มและระบบจัดการของ Facebook – Google มีลักษณะผูกขาดเป็นเผด็จการ และชี้นำผู้คนได้อย่างแนบเนียน เข้าครอบงำทางความคิดได้ในรูปแบบที่พวกเขาอาจไม่รู้ตัวต้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังเปลี่ยนไป เป็นลักษณะของเผด็จการอย่างสมบูรณ์แบบ
8 ข้อพื้นฐานในการตรวจสอบข่าว
สมาพันธ์ห้องสมุดนานาชาติ (International Federation of Library Associations and Institutions) ที่ประเทศเบลเยียม ได้เผยแพร่อินโฟกราฟิกและจัดแปลมากกว่า 30 ภาษาเพื่อให้ข้อมูลกับสาธารณะเกี่ยวกับวิธีการง่ายๆ 8 ข้อสำหรับตรวจสอบข่าว เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลข่าวสาร โดยสรุปสาระออกมาได้ว่า หนึ่งตรวจสอบแหล่งที่มา เช่น พิจารณาจากเว็บไซต์ขององค์กรว่ามีพันธกิจขององค์กรที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และมีตำ แหน่งแห่งที่ที่สามารถติดต่อได้ สองตรวจสอบผู้เขียนว่ามีตัวตนไหม สามตรวจสอบวันที่เผยแพร่ เพราะหลายครั้งที่การเผยแพร่เรื่องในอดีตไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สี่ดูให้แน่ว่า เป็นเรื่องเยาะเย้ยเสียดสี เรื่องตลกหรือเปล่า ห้าอ่านเนื้อเรื่องทั้งหมดแทนที่จะดูเฉพาะพาดหัวแล้วทำการเผยแพร่ต่อ หกตรวจสอบดูลิงก์ในเนื้อหาที่นำ เสนอนั้นๆ ว่าเรื่องราวสอดคล้องเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนเรื่องหรือไม่ เจ็ดตรวจสอบอคติของเราเอง เพราะบ่อยครั้งความเชื่อส่วนบุคคลของเราอาจจะนำ ไปสู่การตัดสินผู้อื่นได้ และแปดสอบถามผู้รู้หรือตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลที่นำ เสนอข้อเท็จจริงอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจในความถูกต้องของข่าวที่อ่านเจอ

ที่มา : How to Spot Fake News : The International Federation of Library Associations and Institutions (IFLA)
ความอ่อนไหวของคนในสังคมจึงเป็นแรงกระตุ้นชั้นเลิศ ที่ความจริงอาจมาจากพื้นฐานเดิมของมนุษย์ก็ได้ และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ข่าวทุกชิ้นล้วนมีนัยยะแฝงความต้องการจากผู้อ่านซ่อนอยู่