สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดตัว Big Data ของภาครัฐ ในการค้นหา ประเด็นปัญหา ‘ความยากจน’ ที่สามารถระบุปัญหาความยากจนในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น / ท้องที่ จังหวัด ประเทศ หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น ซึ่งทาให้การแก้ปัญหาความยากจนตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและสามารถออกแบบนโยบาย Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP คือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า ให้สามารถครอบคลุมปัญหาที่กว้างขึ้น เช่น เด็กแรกเกิด การศึกษา ผู้สูงอายุ การพัฒนาสภาพที่อยู่อาศัย พร้อมนำไปใช้ทดสอบและนำร่องการใช้งานจริงสู่ภูมิภาค และพัฒนาเพื่อความแม่นยำ
TPMAP วัดความจนออกมาเป็น 5 มิติ เพราะความหมายของคนจนคือ ผู้ที่มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพชีวิตที่ดีในมิติต่างๆ ดังนี้ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการรัฐ โดยที่คนจน 1 คน มีปัญหาได้มากกว่า 1 ด้าน
จากการสำรวจพบว่า เชียงใหม่มีคนจนมากที่สุด ในขณะที่สมุทรสงครามมีคนจนน้อยที่สุด แต่เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนต่อประชากรพบว่า แม่ฮ่องสอนและน่านมีสัดส่วนคนจนมากที่สุด จากการสำรวจข้อมูล ปี 2561 ในประชากรประมาณ 36 ล้านคน (ไม่รวมกรุงเทพฯ) เข้าข่ายยากจน 1 ล้านคน
เมื่อแบ่งเป็นมิติ พบว่า คนจนด้านสุขภาพมี 21,7081 คน คนจนด้านความเป็นอยู่ 244,739 คน คนจนด้านการศึกษา 378,080 คน คนจนด้านรายได้ 376,091 คน คนจนด้านการเข้าถึงบริการของรัฐ 6,490 คน
แต่หากวิเคราะห์ออกมาเป็นมิติ พบว่า จังหวัดน่าน คือ จังหวัดที่มีปัญหามากที่สุดในด้านรายได้และด้านสุขภาพ ส่วนแม่ฮ่องสอน มีปัญหาด้านการศึกษาและด้านความเป็นอยู่ และเลยที่มีสัดส่วนคนที่ปัญหาด้านการเข้าถึงบริการรัฐมากที่สุด
รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในไทย ปี 2559 ระบุว่า ในรอบเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่าน สถานการณ์ความยากจนลดลงอย่างต่อเนื่อง และความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มลดลงแต่ค่อนข้างช้า โดยแนะนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่น่าสนใจไว้ว่า ควรเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ การยกระดับรายได้ คุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 40 ซึ่งครอบคลุมทั้งคนจน คนเกือบจน กลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะตกเป็นคนจนหรือคนเกือบจน และกลุ่มเปราะบาง (กลุ่มคนชายแดน คนไร้สัญชาติ ผู้ต้องขัง ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ผู้พิการ) ให้สามารถเข้าถึงโอกาส และบริการพื้นฐานที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง แบ่งเป็นแต่ละด้านดังนี้
- ด้านการศึกษา เร่งรัดการด้าเนินโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน (Intensive Care Unit: ICU) โดยการยกระดับคุณภาพครู
- ด้านสาธารณสุข วางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพ สร้างมาตรฐานของระบบประกันสุขภาพทุกระบบ โดยรัฐจะต้องมีการก้าหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างบริษัท หรือแรงงานนอกระบบ ให้แต่ละระบบมีสิทธิประโยชน์และคุณภาพในการรักษาพยาบาลเหมือนกัน การส่งเสริมและพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยที่รวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัย
- เพิ่มโอกาสในการมีรายได้ตามความสามารถ/ศักยภาพ ให้แรงงานสามารถได้รับค่าตอบแทนตามระดับทักษะแรงงานอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานไทย เป็นการลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอีกทางหนึ่ง
- ส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้ประกอบการระดับชุมชน การสนับสนุนศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน พึ่งพาตนเองได้ มีสิทธิในการจัดการทุน ที่ดินและทรัพยากรภายในชุมชม
- วางระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการจัดสวัสดิการและการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้เพื่อให้เกิดการบูรณาการ การจัดสวัสดิการและการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม ไม่เกิดความซ้ำซ้อน รวมถึงตรงกับสภาพปัญหาของบุคคล ซึ่งจะช่วยลดภาวะค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณ รวมถึงสามารถวางแนวทางการป้องกันไม่ให้บุคคลที่
เคยได้รับความช่วยเหลือกลับไปมีสภาพปัญหาเช่นเดิมอีก - เร่งรัดการด้าเนินโครงการเน็ตประชารัฐให้ครอบคลุมหมู่บ้าน ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความเหลื่อมล ้าส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่รู้หรือไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียมกัน
- สร้างความรับผิดชอบต่อสังคมในทุกระดับ (Corporate Social Reponsibility: CSR) ให้ความส้าคัญกับการประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม ต่อต้านการทุจริต เคารพสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติต่อแรงงานที่เป็น
ธรรมรับผิดชอบต่อลูกค้าและคู่ค้าอย่างมีจริยธรรม มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล ้าอันเกิดจากการได้รับโอกาสหรือได้เปรียบมากว่าผู้อื่น