ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) กลายเป็นกระแสที่บริษัทระดับ Corporate เริ่มทำอย่างแพร่หลาย ภายใต้ความเชื่อว่าศักยภาพธุรกิจจะช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชน และเศรษฐกิจได้ และการแสวงหาผลกำไรไม่ใช่เป้าหมายหลัก เราจึงได้เห็นบริษัทพลังงานรายใหญ่ชูเรื่อง CSR ปลูกป่า บริษัทวัสดุก่อสร้างชูเรื่องชนบท บริษัทโทรคมนาคมเน้นเรื่องชุมชน หรือบริษัทธนาคารเน้นพัฒนาสิ่งแวดล้อม
การทำ CSR จึงเหมือนทำเพื่อคืนกำไรสู่สังคมหลังจากที่เหล่าบรรษัทสร้างผลกระทบต่อการเข้ามาใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นนั่นเอง
ผลสำรวจชิ้นนี้วัดการทำ CSR ในหลายมิติและหลายกลุ่ม ความน่าสนใจที่สุดคือ คนในแต่ละกลุ่มมองผลการทำ CSR ของเหล่าบริษัทต่างกันออกไป เช่น ผู้บริโภคทั่วไปมอง CSR ของแต่ละบริษัทเป็นแบบหนึ่ง ขณะที่ลูกค้าของบริษัทก็มองต่างกันไปอีกแบบหนึ่ง หรือพนักงานขององค์กรเหล่านั้นก็มองการทำ CSR ที่ต่างกับผู้บริโภคและลูกค้ามอง ซึ่งยังมีในแง่ของกลุ่มลูกค้าของบริษัทมองคู่แข่งทางการค้าอย่างไร หรือลูกค้าของคู่แข่งมีการมองบริษัทของตัวเองอย่างไรอีกด้วย
ผู้บริโภคจะตอบแบบสำรวจทั้งหมด 6 มิติ ประกอบด้วย
มิติที่ 1 : สินค้าหรือบริการของบริษัทมีคุณภาพเหมาะสมกับราคา
มิติที่ 2 : บริษัทมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเป็นอย่างดี
มิติที่ 3 : บริษัทประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม มีธรรมาภิบาล
มิติที่ 4 : ผู้บริหารมีจรรณยาบรรณ ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น
มิติที่ 5 : บริษัทมีความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
มิติที่ 6 : บริษัทมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
โดยผลที่เราจะนำมารายงานนั้นคือกลุ่มลูกค้าของบริษัท ที่ถูกจำแนกออกมา 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
- กลุ่มลูกค้าของบริษัท
- กลุ่มผู้ที่มีส่วนได้เสียกับบริษัท
- กลุ่มที่เป็นทั้งลูกค้าและผู้ที่มีส่วนได้เสียกับบริษัท
- กลุ่มที่ไม่เป็นทั้งลูกค้าและผู้ที่มีส่วนได้เสียกับบริษัท
ผลสำรวจ
ในกลุ่มของลูกค้าของบริษัท ที่วัดผลการทำ CSR ใน 6 มิติจากกลุ่มผู้บริโภคเมื่อได้มาเป็นลูกค้าของบริษัทแล้ว โดย 1Like1Vote พบว่า อันดับที่ออกมามีการปรับขึ้นลงต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม และแตกต่างกับอันดับในสายตาของผู้บริโภคทั่วไปก่อนหน้านี้ สะท้อนนัยยะสำคัญบางอย่างที่น่าสนใจไม่น้อย โดยผลอันดับออกมาดังนี้
กลุ่มของลูกค้าของบริษัท จาก บริษัทหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า อันดับที่ 1 คือ AIS อันดับที่ 2 คือ 3BB อันดับที่ 3 คือ CAT อันดับที่ 4 คือ TRUE อันดับที่ 5 DTAC และอันดับที่ 6 คือ TOT
กลุ่มลูกค้าของบริษัท จาก บริษัทหมวดธนาคาร พบว่า อันดับที่ 1 คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ อันดับที่ 2 คือ ธนาคารกรุงไทย อันดับที่ 3 คือ ธนาคารกสิกรไทย อันดับที่ 4 คือ ธนาคารออมสิน อันดับที่ 5 คือ ธนาคารทหารไทย อันดับที่ 6 คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อันดับที่ 7 คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย อันดับที่ 8 คือ ธนาคารกรุงเทพ และอันดับที่ 9 คือ ธนาคารธนชาต
กลุ่มลูกค้าของบริษัท จาก บริษัทหมวดค้าปลีกและค้าส่ง พบว่า อันดับที่ 1 คือ MAKRO อันดับที่ 2 คือ BIG C อันดับที่ 3 คือ CENTRAL อันดับที่ 4 คือ LOTUS อันดับที่ 5 คือ ROBINSON อันดับที่ 6 คือ FAMILY MART อันดับที่ 7 คือ LAWSON108 และอันดับที่ 8 คือ CP ALL
กลุ่มลูกค้าของบริษัท จาก บริษัทหมวดอาหารและเครื่องดื่ม พบว่า อันดับที่ 1 คือ บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อันดับที่ 2 คือ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด อันดับที่ 3 คือ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด อันดับที่ 4 คือ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) อันดับที่ 5 คือ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) อันดับที่ 6 คือ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด อันดับที่ 7 คือ บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด อันดับที่ 8 คือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) อันดับที่ 9 คือ บริษัท อาเจไทย จำกัด อันดับที่ 10 คือ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) อันดับที่ 11 คือ บริษัท ฟู้ดแอนด์ดริ๊งส์ จำกัด (มหาชน) อันดับที่ 12 คือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
กลุ่มลูกค้าของบริษัท จาก บริษัทหมวดรถยนต์ พบว่า อันดับที่ 1 คือ TOYOTA อันดับที่ 2 คือ HONDA อันดับที่ 3 คือ NISSAN อันดับที่ 4 คือ MAZDA อันดับที่ 5 คือ MITSUBISHI และอันดับที่ 6 คือ HYUNDAI
เราก็ได้แต่คาดหวังว่าเสียงผู้บริโภคกลุ่มใหญ่เหล่านี้ จะสะท้อนบางอย่างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เพื่อการทำ CSR อย่างยั่งยืนไม่ใช่แค่ทำเพื่อถ่ายรูปประชาสัมพันธ์ (PR) ลงสื่อ เพราะสุดท้ายแล้วเราก็จะได้แค่ทำ PR ไม่ใช่ CSR