ผู้บริโภคจะต้องทำอย่างไรหากต้องการจะยกเลิกสัญญาในเรื่องดังกล่าว เรื่องนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกันอีกแล้วว่าจะต้องทำเช่นไร
ประการแรก หากต้องการจะยกเลิกสัญญาต้องจำไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือในการบอกเลิกสัญญา โดยต้องทำเป็นลายลักษณ์ลักษณ์เท่านั้นจึงจะมีผล
ประการที่สอง เนื้อหาในการบอกเลิกสัญญาจะต้องมีเหตุผลที่เกิดจากความบกพร่องของเจ้าของสินค้าหรือบริการนั้น เช่นกรณีไม่จัดให้มีการบริการที่สาคัญให้ตามสัญญาหรือซื้อบริการไปอย่างหนึ่งแต่ไม่จัดให้มีบริการนั้น แม้จะให้มีบริการอื่นมาทดแทนก็สามารถใช้เป็นเหตุผลในการบอกเลิกสัญญาได้
ประการที่สาม เมื่อทำหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วให้ถ่ายสำเนาเก็บไว้ 2 ชุด โดยชุดหนึ่งเก็บไว้เป็นหลักฐานกับตัวเอง อีกชุดให้ส่งไปที่ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต และจดหมายตัวจริงก็ส่งไปที่ผู้ประกอบการสินค้าหรือบริการที่ได้ไปซื้อสินค้าหรือบริการมา
ประการที่สี่ กรณีที่มีการส่งจดหมายเพื่อบอกเลิกสัญญาการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ ต้องจำไว้ว่าอย่าให้เกิน 30 วันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อสินค้าหรือรับบริการ และควรส่งเป็นไปรษณีย์ตอบรับเพื่อจะได้มีหลักฐานยืนยันได้
ทั้งนี้ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542 ได้ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้าไปทำสัญญาของบัตรเครดิตในการซื้อใช้สินค้าหรือบริการผ่านบัตรเครดิตโดยกำหนดให้สัญญาของบัตรเครดิตจะต้องไม่ตัดสิทธิของผู้บริโภคที่จะขอยกเลิกการซื้อสินค้า หรือรับบริการภายในระยะเวลา 45 วันนับแต่วันที่สั่งซื้อสินค้าหรือรับบริการ หรือภายในระยะเวลา 30 วันนับแต่วันถึงกาหนดการส่งมอบสินค้าหรือบริการ
โดยผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตจะระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภค หรือในกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้วถ้าเป็นการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการภายในประเทศจะคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายในระยะเวลา 30 วันนับแต่วันที่ผู้บริโภคแจ้ง ถ้าเป็นการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศจะคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายใน 60 วันนับแต่วันที่ผู้บริโภคแจ้งเช่นกัน