สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อธุรกิจควบคุมสัญญา เช่น ไฟแนนซ์ หรือผู้ปล่อยสินเชื่อ กรณีที่มีการซื้อหรือเช่ารถยนต์ ป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบจากดอกเบี้ยในสัญญา
กฎหมายใหม่ลดทั้งต้นลดทั้งดอก (?)
- ให้ไฟแนนซ์หรือธนาคารแสดงอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) และแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) เปรียบเทียบเพื่อไม่ให้ผู้เช่าซื้อสำคัญผิด คิดว่าดอกเบี้ยเช่าซื้อแบบคงที่ ที่เห็นตัวเลขเปอร์เซนต์น้อยๆ นั้น จ่ายดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกที่เห็นตัวเลขเปอร์เซนต์ดอกเบี้ยเยอะๆ
- หากผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้กฎหมายเดิมจะถูกคิดดอกเบี้ยสูงสุดที่ร้อยละ 17 แต่กฎหมายใหม่จะถูกคิดดอกเบี้ยลดลงอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 15
- ธนาคารหรือบริษัทจะต้องแสดงวันเดือนปีแต่ละค่างวด แยกเงินต้น – ดอกเบี้ย ให้ผู้บริโภคทราบชัดเจน
- คุ้มครองผู้ค้ำประกันมากขึ้นโดยให้สิทธิ์ 15 วัน หลังโดนยึดรถ
- ให้สิทธิ์ผู้บริโภคสามารถซื้อรถคืนได้ภายใน 7 วันหลังโดนยึดรถ
- ก่อนจะนำรถขายเข้าตลาด ต้องมีการแจ้งให้ผู้บริโภคและผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน
- หากมีความประสงค์ต้องการชำระเงินทั้งหมด หรือโปะเงิน ธนาคารหรือบริษัทต้องลดดอกเบี้ยไมน้อยกว่า 50% จากกฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดชัดเจน
- ห้ามไม่ให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมยึดรถ
- หากผู้บริโภคผิดนัดชำระหนี้ 3 เดือน ธนาคารหรือบริษัทต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนบอกเลิกสัญญา
สำหรับคนที่งงว่าสรุปลดจริงไหม คงมาจากความเข้าใจผิดของเหล่าสื่ออื่นๆ
แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้ลดจริง
ไม่ลดจริงอย่างไรต้องมาทำความเข้าใจเรื่องดอกเบี้ยก่อน
ปกติแล้วเวลาที่เราจะผ่อนอะไร เรามักดูจากอัตราดอกเบี้ยต่อปีเป็นหลัก
“เจ้านี้ดอก 5%
หรือธนาคารนี้ดอก 4%”
แต่ผู้บริโภคที่ไม่มีความรู้เรื่องดอกเบี้ยอย่างเราๆ นั้นไม่ค่อยได้ดูที่วิธีการคิดดอกเบี้ย ซึ่งเจ้ากฎหมายฉบับใหม่นี้เองที่ช่วยให้เราชำระดอกเบี้ยลดลงโดยบังคับให้บริษัทไฟแนนซ์หรือธนาคารเปรียบเทียบวิธีคิดดอกเบี้ยออกมาเลยว่าแบบ Flat Rate และ Effective Rate สรุปแล้วเราจ่ายแบบไหนแพงกว่ากัน โดยไม่เกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยเลย เพราะไม่ได้ออกมาปรับลดเพดานสูงสุดของดอกเบี้ย
คือเวลาที่เราจะรู้ได้ว่าเราจ่ายดอกเบี้ยหัวแบะอยู่หรือไม่นั้น ต้องทำตารางเปรียบเทียบออกมา โดยดูจากวิธิคิดดอกเบี้ยที่ทางไฟแนนซ์หรือธนาคารเสนอ
*การคิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลาที่ต้องผ่อนชำระ เช่น นายแดงทำสัญญาซื้อรถยนต์กับไฟแนนซ์ A มูลค่า 700,000 บาท ไฟแนนซ์ A จะคิดดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 4 /ปี กำหนดระยะเวลาในการซื้อ 2 ปี หรือ 24 เดือน สัญญากำหนดให้นายแดงต้องชำระเงินแก่ไฟแนนซ์ A ทุกเดือน โดยคิดจากจำนวนเงิน 700,000 ขณะที่การคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) คือ การคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวดแทน ทำให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลดลงไปมาก
ซึ่งความพีกมันอยู่ตรงนี้นี่แหละ เพราะที่เราเห็นว่าดอกเบี้ยวิธีคิดแบบ Flat Rate ที่ดูผิวเผินตัวเลขดอกเบี้ย 3-4 % เหมือนจะถูกกว่า Effective Rate ที่คิดดอกเบี้ยคุณ 6-7% นั้น กลับทำให้คุณจ่ายสินค้าแพงขึ้น
หากอยากรู้ว่าดอกต่ำของดอกเบี้ยแบบคงที่กับดอกสูงของดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก แบบไหนที่ทำให้จ่ายเงินมหาศาลกว่ากัน (แบบคร่าว ๆ) ทำได้โดยใช้ 1.8 คูณกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ จะได้กับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่คุณต้องจ่ายกันจริงๆ ต่อปี
ตามตารางข้างบนอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่คือ 6% จะเท่ากับ 6% x 1.8 = 10.8% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปีที่เราต้องจ่าย
เท่ากับว่าอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 6% ของบริษัทให้กู้ A ต้องจ่ายแพงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก 10% ของบริษัทให้กู้ B
ส่วนประกาศที่ออกมานั้น แทบไม่มีผลต่อการจ่ายดอกเบี้ยเลยเลย เพียงแค่ทำให้สิทธิพิเศษสำหรับการโปะเงินไม่ให้เสียเงินเกินจริงและคุ้มครองผู้ค้ำประกันและผู้บริโภคมากขึ้น