เป็นอีกประเด็นที่น่าคิดและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ จากกรณีที่มีการเปิดเผยถึงผลการสำรวจของสำนักวิจัยซูเปอร์โพล มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ “เรื่องประชาชนคิดอย่างไรต่อความไม่ปลอดภัยใน เครื่องสำอาง อาหาร และยา” โดยดร.นพดล กรรณิกา ในฐานะของผู้อำนวยการ
ศึกษากรณีตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพจำนวนทั้งสิ้น 1,037 ตัวอย่าง มีข้อมูลที่น่าสนใจพบว่าคนส่วนใหญ่หรือ 63.3% ไม่ทราบว่าสามารถตรวจสอบเลของค์การอาหารและยา (อย.) ได้ด้วยตนเอง ในขณะที่ 36.7% ทราบ โดยตรวจสอบผ่านเว็บอย. สายด่วน อย. เว็บค้นหาทั่วไป และ แอพพลิเคชั่
นอกจากนี้สิ่งน่าเป็นห่วงคือคนส่วนใหญ่หรือ 73.9% ไม่ทราบว่าสามารถตรวจสอบเลขจดแจ้ง เครื่องสำอางได้ด้วยตนเอง ในขณะที่ 26.1% ทราบโดยตรวจสอบผ่านเว็บอย. ฉลาก สายด่วน อย. แอพพลิเคชั่น และเว็บไซต์ค้นหาทั่วไป อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่หรือ 91.9% พอใจการทำงานของตำรวจที่จับกุมดำเนินคดี ขบวนการ สวมเลข อย. ได้ ในขณะที่ 8.1% ไม่พอใจ
เมื่อถามถึงช่องทางที่เคยพบเห็นโฆษณา เครื่องสำอางผ่านสื่อต่าง ๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 83.6% พบเห็นผ่านทางเฟซบุ๊ก รองลงมาคือ 51.6% พบเห็นผ่านทาง ทีวี 33.8% พบเห็นผ่านทางไลน์ ในขณะที่ 26.4% พบเห็นผ่านทางสิ่งพิมพ์ 20.9% ผ่านทางการบอกต่อ และ 7.8% ผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น เว็บไซต์ทั่วไป ทวิตเตอร์ ยูทูป และอินสตาแกรม
เมื่อถามถึงแหล่งที่เชื่อมั่นในการซื้อสินค้าเครื่องสำอาง พบว่าเกินครึ่งหรือ 55.9% เชื่อมั่น เชื่อถือบริษัท ชื่อสินค้า รองลงมาคือ 36.2% เชื่อคนรู้จักแนะนำ 22% เชื่อ คำโฆษณา 15.5% เชื่อดารา คนดัง และ 11.6% เชื่ออื่นๆ เช่น จากผู้เชี่ยวชาญ ดู คอมเมนท์ต่างๆ หาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า สารประกอบที่ใช้ในการผลิตและส่วนผสม ดูจากมาตรฐานการรับรอง และคนรู้จักที่ใช้ผลิตภัณฑ์จริง
ที่น่าพิจารณาคือหน่วยงานที่ประชาชนต้องการให้เร่งแก้ไข ปัญหาความไม่ปลอดภัยของประชาชนในการซื้อเครื่องสำอาง อาหาร และ ยา พบว่า อันดับแรกส่วนใหญ่ 78.3% ได้แก่ อย. รองลงมาคือ 72.4% ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และส่วนใหญ่เช่นกัน หรือ 63.5% ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่ 35.2% ระบุตำรวจ และ 2.5% ระบุอื่นๆ เช่น สื่อมวลชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตามกรณีโพลสำรวจดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น สิ่งที่น่าพิจารณาเป็นพิเศษอยู่ตรงประเด็นที่มีการระบุถึงหน่วยงานที่ประชาชนต้องการให้เร่งแก้ไข จากปัญหาความไม่ปลอดภัยของประชาชนในการซื้อเครื่องสำอาง อาหาร และ ยา ที่ระบุว่าอันดับแรกส่วนใหญ่ 78.3% ได้แก่ อย. รองลงมาคือ 72.4% ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และส่วนใหญ่เช่นกัน หรือ 63.5% ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่ 35.2% ระบุตำรวจ และ 2.5% ระบุอื่นๆ เช่น สื่อมวลชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และเพื่อให้เห็นภาพสะท้อนในบางมุมที่ชัดขึ้น ขอยกตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นในงานเสวนา “จากกรณีเมจิกสกินถึงการบุกค้นตลาดใหม่ดอนเมือง สื่อทำหน้าที่อย่างไร และผู้บริโภคได้อะไร” ที่จัดขึ้นโดยสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่องดัวยกัน แต่ขอยกมาเป็นน้ำจิ้มสักประเด็น
นั่นคือการอภิปรายของ สถาพร อารักษ์วทนะ นักวิชาการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ระบุตอนหนึ่งว่า……..การทำงานที่ขาดการประสานงาน เช่นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ อย.ไม่นำข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มาเผยแพร่ต่อสาธารณะ รวมถึงมีบางกรณี “กรมวิทย์” ตรวจเจอสารอันตรายแบบซ้ำซาก แต่ อย.ไม่ประกาศเตือนหรือ “การโฆษณา” แม้จะกำหนดคำห้ามใช้ เช่นร้อยเปอร์เซ็นต์ ดีที่สุด ใช้แล้วขาว แต่ข้อห้ามดังกล่าวไม่มีสถานะทางกฎหมาย” เป็นเพียงการขอความร่วมมือเท่านั้น
คงเห็นภาพกันชัดเจนมากขึ้นว่าโพลที่สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการทำงาน “ในเรื่องประชาชนคิดอย่างไรต่อความไม่ปลอดภัยใน เครื่องสำอาง อาหาร และยา” ถือเป็นกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ขณะที่หน่วยงานอื่น ๆ อย่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับได้รับความพึงพอใจในการทำงานแทน นับเป็นเรื่องที่น่าคิดและต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนก่อนที่จะสายเกินแก้