มีใครเคยสงสัยหรือตั้งข้อสังเกตกันบ้างมั้ย ว่าสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือที่รู้จักกันในนามของ “สคบ.” เขาทำอะไรกันบ้างกับบทบาทที่ตั้งขึ้นมา ถ้าอ่านตามชื่อก็คือการคุ้มครองผู้บริโภค พักหลังมานี้ใครที่ติดตามจะพบว่าบทบาทดูจะแผ่ว ๆลงไปเยอะ
ขณะที่บางยุคบางสมัยตัวผู้นำองค์กรอย่างเช่น “เลขาธิการสคบ.” จะแอ๊คชั่นบทบาทจนทำให้ภาพลักษณ์ของสคบ.เป็นที่โดดเด่น มีผลงานออกมากมากมาย ล่าสุด Bee Voice แอบไปส่องสถิติการร้องเรียนของผู้บริโภคในรอบ 8 เดือน (ม.ค.- ส.ค.) ของปี 60 นำมาฝากให้ช่วยกันคิดพิจารณา
ในสถิติตลอดทั้ง 8 เดือน แต่ละเดือนจะสรุปเรื่องร้องเรียนใน 4 หมวดสำคัญ ได้แก่ ด้านสัญญา ด้านการโฆษณา ด้านฉลาก และด้านของธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง โดยรวมทั้งสิ้นจำนวน 6,233 ราย และหากจะจำแนกรายละเอียดในแต่ละ
เดือนสามารถแบ่งได้ดังนี้
เดือนมกราคม 2560 เป็นเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคจำนวนทั้งสิ้น 487 ราย โดยแบ่งเป็น ด้านฉลากจำนวน 146 ราย ด้านสัญญาจำนวน 158 ราย ด้านโฆษณาจำนวน 155 ราย ด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงจำนวน 28 ราย
เดือนกุมภาพันธ์ 2560 ยอดรับเรื่องร้องทุกข์จำนวน634 ราย แบ่งเป็นด้านฉลากจำนวน 245 ราย ด้านสัญญาจำนวน 215 ราย ด้านโฆษณาจำนวน 132 ราย ด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงจำนวน 42 ราย
เดือนมีนาคม 2560 จำนวนทั้งสิ้น 580 ราย โดยแบ่งเป็นด้านฉลากจำนวน 227 ราย ด้านสัญญาจำนวน 175 ราย ด้านโฆษณาจำนวน 145 ราย ด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงจำนวน 33 ราย
เดือนเมษายน 2560 จำนวนทั้งสิ้น 702 ราย แบ่งเป็น ด้านฉลากจำนวน 176 ราย ด้านสัญญาจำนวน 236 ราย ด้านโฆษณาจำนวน 243 ราย และด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง จำนวน 47 ราย
เดือนพฤษภาคม 2560 จำนวนทั้งสิ้น 1,169 ราย แบ่งเป็น ด้านฉลากจำนวน 136 ราย ด้านสัญญาจำนวน 634 ราย ด้านโฆษณาจำนวน 347 ราย และด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง จำนวน 52 ราย
เดือนมิถุนายน 2560 ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคจำนวนทั้งสิ้น 936 ราย แบ่งเป็น ด้านฉลากจำนวน 160 ราย ด้านสัญญาจำนวน 510 ราย ด้านโฆษณาจำนวน 237 ราย และด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงจำนวน 29 ราย
เดือนกรกฎาคม 2560 รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคจำนวนทั้งสิ้น 864 ราย แบ่งเป็น ด้านฉลากจำนวน 173 ราย ด้านสัญญาจำนวน 419 ราย ด้านการโฆษณาจำนวน 228 ราย และด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง จำนวน 44 ราย
เดือนสิงหาคม 2560 ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคจำนวนทั้งสิ้น 861 ราย จำแนกเป็น ด้านฉลากจำนวน 169 ราย ด้านสัญญาจำนวน 261 ราย ด้านการโฆษณาจำนวน 371 ราย และด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง จำนวน 60 ราย
จากตัวเลขสถิติการร้องเรียนตลอดช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาจำนวนกว่า 6 พันราย ซึ่งหากรวมยอดตลอดทั้งปีตัวเลขน่าจะแตะที่หลักหมื่นราย คงพอสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยกับปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับผู้บริโภคยังคงเป็นปัญหาเดิม ๆ แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ สถิติของการขอความช่วยเหลือต่อผู้บริโภคที่ร้องเรียนเข้ามา ถูกดำเนินการแก้ไขได้ทั้งหมดทุกรายหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าคิด
ขณะที่มาตรการที่สคบ.กำหนดขึ้นไม่ว่าจะเป็น การจัดให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำหรับให้บริการรับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้ำหรือบริการ รวมทั้งการให้บริการในการรับเรื่องร้องทุกข์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ทางไปรษณีย์ หรือแม้แต่ช่องทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคwww.ocpwb.go.th
นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกต่อประชาชนสามารถขอรับแบบฟอร์มร้องทุกข์ได้ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ห้างสรรพสินค้าโลตัส ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ และร้านจิฟฟี่ ในปั้มน้ำมันปตท. ทั้งหลายทั้งปวงสามารถช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการให้บริการได้อย่างทั่วถึงจริงหรือไม่
แต่บทสรุปในเรื่องการประชาสัมพันธ์ต่องานที่ออกมาจากหน่วยงานที่ว่าดูจะค่อนข้างเงียบเหงา วังเวงยังไงไม่รู้ โดยเฉพาะเรื่องที่ร้องเรียนเข้าไปชวนให้ฉงนว่า การแก้ปัญหาเป็นที่เรียบร้อย และมีมาตรการต่อเรื่องที่ถูกร้องเป็นเช่นไร ยังเป็นปัญหาให้ต้องกลับมาขบคิดกันต่อไป
ข้อมูลจาก – www.ocpwb.go.th