สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้จัดทำและแจกจ่าย คู่มือ PDPA ฉบับประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับ ผู้บริโภค เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การอ่านคู่มือเล่มนี้จะทำให้ประชาชนได้เข้าใจและคลายข้อสงสัยในหลายๆ เรื่อง ผู้บริโภคอย่างเราก็ควรจะทำความเข้าใจในเรื่องนี้
ผู้บริโภค ควรทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) คือ บุคคลธรรมดาผู้มีสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งข้อมูลนั้นบ่งชี้ไปถึงบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
- ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- ผู้ประมวผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
10 เรื่องที่ ผู้บริโภค ต้องรู้เกี่ยวกับ PDPA
- ข้อมูลส่วนบุคคล
- ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์
- ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็น
- ความยินยอม
- ในการขอความยินยอมผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องคำนึงอย่างที่สุดในความเป็นอิสระของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
- เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธ
- PDPA ใช้กับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย
- เหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
- การจัดทำบันทึกรายการ
- สิทธิร้องเรียน
เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA
หลังจากที่มีการบังคับใช้ PDPA อย่างเต็มรูปแบบ พบว่ามีการสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมากมาย แต่พบว่ายังมีความไม่ถูกต้องของการนำเสนอเนื้อหาจะด้วยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ก็ทำให้เกิดเรื่องเข้าใจผิดเกิดขึ้นในสังคม เราเองในฐานะผู้บริโภคต้องรู้เท่าทันว่าเรื่องไหนจริงเรื่องไหนไม่จริง ผู้บริโภคจะได้รู้ว่าอะไรยังคงทำได้และอะไรทำไม่ได้
ดาวน์โหลดได้ที่: PDPA ฉบับประชาชน
บทความแนะนำ: เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA