ตั้งแต่มีการบังคับใช้ PDPA อย่างเต็มรูปแบบ พบว่าในสังคมมีความสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ข้อมูลส่วนบุคคล กันอย่างมากมาย เราเองในฐานะ ผู้บริโภค ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ก็ต้องเรียนรู้ที่จะปกป้องสิทธิและข้อมูลของตัวเราเอง ซึ่งในบทความนี้จะเป็นการนำกรณีการซื้อของออนไลน์มาพิจารณาว่า เราสามารถให้ข้อมูลส่วนบุคคลมากน้อยขนาดไหนถึงจะเรียกว่าเพียงพอ
ผู้บริโภค ต้องให้ข้อมูลอะไรบ้าง?
ในการสั่งซื้อของออนไลน์ผู้บริโภคจำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
- ชื่อ
- ที่อยู่
- เบอร์โทรศัพท์
- อีเมล
เพื่อให้ร้านค้าสามารถติดต่อสำหรับทำการส่งสินค้าและบริการได้ ซึ่งในข้อมูลข้างต้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาให้บริการ ทำให้ร้านค้าไม่ต้องทำการขอความยินยอมจากเรา
ร้านค้าออนไลน์ต้องเลิกทำเรื่องต่อไปนี้
ร้านค้าเองหลังจากที่ได้นำเอาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคไปใช้งานแล้ว ก็ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมว่าหลังจากบังคับใช้ PDPA แล้ว เรื่องไหนที่จากนี้จะทำไม่ได้อีกแล้ว
1.ห้ามขอข้อมูลลูกค้า “เกินความจำเป็น”
2.ห้ามเผยแพร่สลิปที่มี ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือ หมายเลขพัสดุใน “ช่องทางสาธารณะ” ไม่ว่าจะเป็น หน้าเพจของ Facebook, กลุ่ม Line และอื่นๆ หากต้องการแจ้งลูกค้าให้ทำใน “ช่องทางส่วนตัว” เท่านั้น
Driver ขอถ่ายรูปเราตอนรับของได้ไหม?
อันนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ และเชื่อว่า Driver ทั้งหลายก็ได้เรียนรู้มาระยะหนึ่งแล้วว่า ให้ถ่ายรูปสินค้าที่ส่งมอบกับมือลูกค้าเท่านั้น ไม่ใช่การถ่ายรูปเต็มตัวไปจนเห็นหน้าตาของลูกค้า ผู้บริโภคเองก็ต้องรู้จักรักษสิทธิของตัวเองด้วยเช่นกัน ถ้า Driver ขอถ่ายรูปหน้าเราขณะรับสินค้า เราสามารถปฏิเสธได้ และให้ถ่ายรูปมือของเราขณะรับสินค้าแทน
อ้างอิง: facebook.com/pdpc.th
บทความที่น่าสนใจ: ผู้บริโภคเตรียมตัวอย่างไรบ้างเมื่อ PDPA ประกาศใช้