มกราคม 16, 2018 830 Views ยุ่งล่ะสิ! “จอดรถในห้างหาย….ใครรับผิด ????? by Admin คุณคิดว่าใครควรรับผิดชอบ ? ขอตั้งคำถามไว้เลยพร้อมขอแชร์... Read More รู้ไว้ไม่เสียของ ! “สคบ.” vs. “กรมการค้าภายใน” เรื่องที่คุณต้องอ่าน ???? จีนเข้มโทษหลอกลวงซื้อของออนไลน์ ถึงเวลา “ไทย”หรือยัง ?? คุณคิดว่าใครควรรับผิดชอบ ? ขอตั้งคำถามไว้เลยพร้อมขอแชร์ประสบการณ์ หากรถคันโปรดที่คุณขับไปซื้อของในห้างจอดอยู่บนลานจอดรถเกิดมีเหตุอันตธานหายไป ชนิดไม่ได้บอกกล่าวร่ำลากันเลยสักนิด เหตุเพราะมีมือดีแอบมาฉกเอาไปซะนี่ แต่ก่อนจะไปร่วมหาคำตอบใครคือผู้ที่รับผิดชอบ???? Bee Voice ขอนำไปดูสถิติในอดีตกันสักนิดจากศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ระบุถึงสถิติการโจรกรรมรถยนต์ทั่วประเทศ 10 อันดับแรก ช่วง 1 ม.ค. 50 – 15 ม.ค.59 พบว่ายี่ห้อโตโยต้ารวม 4,436 คัน รองลงมา คือ อีซูซุ 3,904 คัน นิสสัน 1,037 คัน ฮอนด้า 965 คัน มิตซูบิชิ 850 คัน มาสด้า 238 คัน ฯลฯ ส่วนช่วงเวลาที่เกิดเหตุมากสุดคือ 18.00-24.00 น. รองมาลงคือคือ 00.01-06.00 น. ขณะที่สถิติคดีโจรกรรมรถจักรยานยนต์ทั่วประเทศตั้งแต่ 1 ม.ค. 58 – 15 ธ.ค. 59 พบว่ามีจำนวนรวมทั้งสิ้น 8,182 คัน (เป็นรถที่แจ้งหายไว้และอยู่ในคดีอาญา) ขณะเดียวกันจากสถิติยังได้ระบุว่าหนึ่งในสถานที่ที่รถหายมากที่สุดก็คือ ลานจอดรถในห้างสรรพสินค้าที่เรา ๆขับรถไปจอดกันนี่แหละ จึงเกิดคำถามที่ตามมาว่ารถหายห้างฯใครต้องรับผิดหรือไม่ ต่อประเด็นดังกล่าวนี้มีจากรายงานของสคบ.ระบุไว้ว่า เรื่องรถหายในห้างยังเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมากว่าใครควรเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ แม้จะมีคำพิพากษาของศาลฎีกาออกมามากมายแต่ยังไม่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานอ้างอิงในกรณีอื่นๆได้ เนื่องจากต้องดูข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ในแต่ละกรณีประกอบกัน เช่นกรณีที่เจ้าของรถอาจประมาทเอง หรือกรณีเจ้าของรถแอบลักไก่นำรถไปจอดในห้างฯเพราะห้างฯอยู่ใกล้ที่ทำงานโดยไม่ได้เข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการ หรือที่ร้ายแรงกว่านั้นอาจเป็นกรณีแก๊งค์มิจฉาชีพแอบอ้างว่ารถหายเพื่อเรียกร้องเงินจากห้างฯ แต่ถึงกระนั้นก็มีในบางประเด็นซึ่งข้อกฎหมายเป็นที่ยุติแล้ว และสอดรับกับแนวคำพิพากษาศาลฎีกา เช่นการนำรถเข้าไปจอดในห้างฯไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ และไม่ใช่สัญญาเช่าลานจอดรถ ต่อประเด็นกล่าวนี้แม้ไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ หรือไม่ใช่สัญญาเช่าลานจอดรถ แต่ตามรายงานของสคบ.ระบุว่ายังไงทางห้างฯต้องรับผิดในเรื่องละเมิดอยู่ดี โดยอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2556 ซึ่งเป็นฎีกาที่เกี่ยวกับกรณีรถหายในห้างที่มีการเขียนเหตุผลไว้ค่อนข้างครอบคลุมและชัดเจน โดยศาลให้เหตุผลว่าการที่ห้างจัดให้มีลานจอดรถ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการแก่ลูกค้าที่มาจับจ่ายซื้อของอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการค้าของห้าง และมีผลต่อยอดจำหน่ายสินค้าโดยตรงเนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการในห้างนั้นๆ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของห้างที่ต้องดูแลและเอาใจใส่ตามสมควรในทรัพย์สินและความปลอดภัยของลูกค้า มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าต้องระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง จากรายงานข้อมูลของสคบ.ยังระบุอีกว่า การที่ห้างฯเคยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถลูกค้าที่เข้ามาในห้างซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่านกรณีจะนำรถออกไปจากลานจอดจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างฯ แต่ปรากฏว่าขณะนี้ทางห้างกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าว แต่หันมาใช้กล้องวงจรปิดแทนจึงเป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถของห้างฯ และโจรกรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นถึงแม้ทางห้างฯจะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ รวมทั้งการที่ลูกค้าก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถแต่ก็ยังนำรถเข้ามาจอด ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดฝ่ายเดียวไม่มีผลเป็นข้อยกเว้นความรับผิดในการกระทำละเมิดของห้างฯแต่อย่างใด กรณีดังกล่าวนี้จึงเข้าข่ายตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เนื่องจากเป็นการกระทำละเมิดทำให้ทรัพย์สินของลูกค้าสูญหาย ทางห้างฯจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน อย่างไรก็ตาม Bee Voice ขอฝากถึงผู้บริโภคที่เข้าไปใช้บริการในห้างฯว่า เบื้องต้นคุณต้องระมัดระวังป้องกันตัวเองเสียก่อน จึงมีข้อแนะนำว่าการจอดรถในห้างควรจอดในที่ที่คนพลุกพล่าน มีแสงสว่างไม่อยู่ในมุมอับ และจัดการล็อครถ ล็อคพวงมาลัยให้เรียบร้อย และหากไม่เหลือบ่ากว่าแรงควรมีอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความปลอดภัยเช่น ชุดล็อคเกียร์ ชุดล็อคคันเร่ง สัญญาณกันขโมย แม้จะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่ก็สามารถช่วยถ่วงเวลาไม่ให้การโจรกรรมง่ายเกินไป และที่สำคัญคือไม่ควรวางสิ่งของมีค่าไว้ในรถ บัตรจอดรถควรเก็บไว้กับตัวและพึงหลีกเลี่ยงเข้าใช้บริการในห้างฯที่ไม่มีการแจกบัตรจอดรถ ไม่มีพนักงานรักษาความปลอดภัย เพราะมีความเสี่ยงสูงมากที่รถคันโปรดของคุณจะถูกขโมย เมื่อได้ระมัดระวังกันอย่างเต็มที่แล้วหากเกิดเรื่องที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น แนะนำเลยว่าอย่างแรกคุณต้องมีสติแล้วโทรไปที่สายด่วนรถหาย 1192 ของศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) ทันที แจ้งรายละเอียดของรถที่หายเพื่อที่จะสกัดจับคนร้ายได้ทันท่วงที และแจ้งต่อพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างฯโดยเร็ว เพื่อทางห้างฯจะได้รับรู้ว่ารถของเราหายในห้างนั้นๆ จากนั้นให้ดำเนินการแจ้งความต่อสถานีตำรวจประจำท้องที่เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน นอกจากนี้ยังจะต้องเก็บใบเสร็จรับเงินจากการซื้อสินค้าและใช้บริการในห้าง เพื่อแสดงว่าเราไม่ได้ลักไก่นำรถไปจอดในห้างโดยไม่ได้ซื้อสินค้าหรือบริการเลย เพื่อจะได้เอาผิดกับห้างฯได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเจรจากับห้างฯให้รับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว หากห้างฯไม่ยอมรับผิดก็มีความจำเป็นต้องดำเนินการฟ้องร้องต่อศาล ส่วนกรณีที่ไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยกันได้กับทางห้างจนต้องดำเนินคดีถึงชั้นศาล เรื่องนี้มีตัวอย่างคดีที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ฟ้องคดีแทนผู้บริโภคและศาลได้พิพากษาให้ห้างฯต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5800/2553 โดยศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ว่าแม้ห้างฯจะไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับฝากรถของลูกค้าที่มาจอดเพื่อใช้บริการของห้างฯและไม่มีการเก็บค่าจอดรถก็ตาม แต่ห้างฯได้ว่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของห้าง โดยต้องตรวจบัตรเมื่อจะนำรถออกให้ตรงกับทะเบียนรถ จึงเป็นการจัดที่จอดรถให้แก่ลูกค้าตามพฤติการณ์เป็นการให้บริการอย่างหนึ่งที่มีผลต่อยอดจำหน่ายสินค้า ถือว่าห้างฯได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นจึงถือเป็นผู้ให้บริการ ส่วนลูกค้าเป็นผู้บริโภคตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และนอกจากนี้ยังมีผู้บริโภคอื่น ๆอีกหลายรายที่นำรถไปจอดในที่จอดรถของห้างฯแล้วสูญหายไป การดำเนินคดีย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้นคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคย่อมมีอำนาจในการฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่ารถที่สูญหายไปบัตรจอดรถยังอยู่ที่ผู้บริโภค การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างฯไม่ระมัดระวังในการออกบัตรจอดรถและตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด เป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้บริโภคถูกลักไปจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้บริโภค จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดดังกล่าว SHARE