มกราคม 3, 2018 7199 Views สินค้าควบคุม “ฉลาก”คืออะไร?? อ่านให้กระจ่างมีคำตอบ!!! by Admin เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า “ฉลากสินค้า” ที่เราเห็นกันจนช... Read More คิดจะหม่ำต้องรู้ไว้!! “Service charge” ไม่ควักได้มั้ย??? ลวนลามบนรถโดยสารสาธารณะ ภัยแฝงในสังคม “นิ่งเฉย” เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า “ฉลากสินค้า” ที่เราเห็นกันจนชินตามีความสำคัญแค่ไหน บางคนอาจไม่ใส่ใจต่อเรื่องของ “ฉลาก”ของสินค้า แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม เพราะมีความสำคัญมากมายต่อผู้บริโภค Bee Voice มีเรื่องราวดี ๆมาฝากกันอีกแล้วกับเรื่องของ “ฉลาก”สินค้า โดยเฉพาะข้อสงสัยที่ว่าแล้วมีสินค้าตัวไหนบ้างที่เป็นสินค้าควบคุมในเรื่องของ “ฉลาก” จะได้กระจ่างชัดกันไปเลยว่าตกลงมันมีสินค้าตัวไหนบ้าง การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลากสินค้านั้น ถือเป็นมาตรการของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)จะเป็นหน่วยงานหลักในการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดว่าให้ผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้าต้องจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่สำ คัญของสินค้านั้นไว้บน “ฉลากสินค้า” เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้แก่ผู้บริโภคเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ดังนั้นสคบ.จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากเรื่องลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541 กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้นำเข้าเพื่อขายต้องจัดทำฉลากสินค้า โดยมีรายละเอียดประกอบด้วย ชื่อประเภทสินค้า ชื่อผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้า สถานประกอบการ วันเดือนปี ที่ผลิต กรณีนำเข้าต้องระบุประเทศที่ผลิต ขนาดของสินค้า วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้ คำเตือน และราคาสินค้าไว้บนฉลากสินค้าหรือภาชนะหีบห่อที่บรรจุ รวมถึงเอกสารแผ่นพับต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้ระบุโทษไว้ว่า กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจรายใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีเป็นผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้าต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำและปรับ ถึงตรงนี้ไปดูกันต่ออีกสักนิดดีกว่ากับประเด็นที่ว่า มีสินค้าใดบ้างที่ทางคณะกรรมการว่าด้วยฉลากประกาศให้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากนั้น จากข้อมูลของสคบ.มีการระบุไว้ดังนี้คือ 1.ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดนเจน ตามประกาศในฉบับที่ 3 (พ.ศ.2543 ) 2.ข้าวสารบรรจุถุง ประกาศฉบับที่ 4 (พ.ศ.2543) ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2543) 3.ทองรูปพรรณ ประกาศฉบับที่ 6 (พ.ศ.2544) ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2546) 4.อัญมณีเจียระไนและเครื่องประดับอัญมณีเจียระไร ประกาศฉบับที่ 7 (พ.ศ.2544) 5. บอแรกซ์ ประกาศฉบับที่ 8 (พ.ศ.2544) 6.ผลิตภัณฑ์พลาสติก ประกาศฉบับที่ 9 (พ.ศ.2544) 7.เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าและเครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้า ประกาศฉบับที่ 10 (2545) 8.แปรงสีฟัน ประกาศฉบับที่ 11 (2545) 9.สุรา ประกาศฉบับที่ 12 (พ.ศ.2546) ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2547) 10.ปุ๋ยชีวภาพ ประกาศฉบับที่ 14 (พ.ศ.2546) 11.เครื่องเล่นชนิดที่มีล้อเลื่อน ประกาศฉบับที่ 16 (พ.ศ.2547) 12.น้ำมันเอนกประสงค์ ประกาศฉบับที่ 17 (พ.ศ.2547) 13.ภาชนะและเครื่องใช้เมลามีนสำหรับอาหาร ประกาศฉบับที่ 18 (พ.ศ.2547) 14.ที่นอนประกาศฉบับที่ 19 (พ.ศ.2548) 15.รถจักรยานยนต์ ประกาศฉบับที่ 20 (พ.ศ.2549) 16.เครื่องทำน้ำเย็น ประกาศฉบับที่ 21 (พ.ศ.2549) ฉบับที่ 26 (พ.ศ.2550) 17ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยผยุงเด็ก ประกาศฉบับที่ 22 (พ.ศ.2549) 18.ชุดสังฆทาน ชุดไทยธรรม ประกาศฉบับที่ 23 (พ.ศ.2550) 19.รถยนต์ใช้แล้ว ประกาศฉบับที่24 (พ.ศ.2550) 20.อุปกรณ์เครื่องเล่นสนาม ประกาศฉบับที่ 25 (พ.ศ.2550) 21.เครื่องทำน้ำเย็น ประกาศฉบับที่ 26 (พ.ศ.2550) 22.ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ประกาศฉบับที่ 27 (พ.ศ.2552) ฉ. 29 (พ.ศ.2553) 23.ลูกโป่งบรรจุก๊าซไฮโดรเจน ประกาศฉบับที่ 30 (พ.ศ.2553) ฉบับที่ 2 24.ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ ประกาศฉบับที่ 31 (พ.ศ.2553) 25.ปืนอัดลมเบาที่จำลองเลียนแบบอาวุธปืน ประกาศฉบับที่ 32 (พ.ศ.2554) 26.แปรงสีฟัน ประกาศฉบับที่ 33 (พ.ศ.2555) ฉบับที่ 2 27.ภาชนะและเครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิม ประกาศฉบับที่ 34 (พ.ศ.2555) 28.รถยนต์ใช้แล้ว ประกาศฉบับที่ 35 (พ.ศ.2556) 29.ดอกไม้เพลิง ประกาศฉบับที่ 36 (พ.ศ.2556) 30.อ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก ประกาศฉบับที่ 37 (พ.ศ.2556) 31.ผลิตภัณฑ์ไม้ตียุงไฟฟ้า ประกาศฉบับที่ 38 (พ.ศ.2559) 32.สีที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนผสม ประกาศฉบับที่ 39 (พ.ศ.2559) 33.รถจักรยานยนต์ประกาศฉบับที่ 40 (พ.ศ.2560) นอกจากจะต้องแสดงข้อความตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 แล้ว ในฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากทั้งหมดที่ได้กล่าวมายังต้องระบุข้อความตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามแต่ชนิดของสินค้า รู้ข้อมูลกันไปแล้ว ต่อไปคิดจะซื้อหรือจะหาสินค้าก็ต้องอ่านฉลากกันให้ถี่ถ้วน จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบ เพราะตัวฉลากเล็ก ๆที่ว่านี้มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากมายนะจะบอกให้ SHARE