สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นพิษที่ร้ายแรงและนอกจากจะกำจัดศัตรูพืชยังเป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้ใช้หรือผู้ที่สัมผัส ซึ่งสารเคมีนั้นมีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้หลายโรคตั้งแต่ปัญหาระบบทางเดินหายใจรวมไปจนถึงโรคมะเร็ง เพราะมีพิษร้ายแรงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งวันที่ 1 ธันวาคม มีผลบังคับเลิกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ตัว ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเชต และ คลอร์ไพริฟอส
นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ ได้เข้าร่วมการประชุมกับ คณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่มีการประชุมเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากทีมีการต่อสู้เถียงกันมาอย่างยาวนานถึง 7 ปี มีความเห็นชอบและยินยอมที่จะลงมติ “แบน” สารเคมีกำจัดวัชพืชอันตรายร้ายแรง ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเชต คลอร์ไพริฟอส และ ให้ยกเลิกการจำหน่ายและยกเลิกใช้ในประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป เกตุผลที่ทำให้ นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ ยินยอมที่จะเลิกใช้สารเคมีทั้งตัวนี้เพราะมีความเห็นว่า
“ไม่ใช่ชัยชนะของใคร แต่เป็นเพราะสังคมต้องการรับประทานอาหารที่มาจากผลผลิตการเกษตรที่มีความปลอดภัย”
คนไทยร่วมแบน 3 สารเคมี เพราะอะไร?
สารเคมีกำจัดพืช พาราควอต ไกลโฟเชต และ คลอร์ไพริฟอส เป็นสารเคมีตกค้างร้ายแรงที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อมนุษย์ และ อาหาร ซึ่งใน (ปี 2559-2561) ข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า มีผู้ป่วยจากการได้รับสารเคมีทางเกษตร ทั้งหมด 13,908 ราย ,มีโอกาสถึงชีวิต 1,715 ราย ยังไม่นับการสูญเสียชีวิตที่ประเมินค่าไม่ได้ และไม่คุ้มเลยที่จะให้คนไทยใช้สารเคมี 3 ชนิดนี้ได้อีกต่อไป
พาราควอต ไกลโฟเชต และ คลอร์ไพริฟอส สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กรมควบคุมโรคได้เผยแพร่ผลวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงอันตรายของสารเคมี 3 ชนิดนี้ มาโดยตลอด แม้แต่เคยทำเป็นสารคดีและยังได้สัมภาษณ์ เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายต่างชาติที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง โรคพาร์กินสัน ที่เกิดจากการใช้สารเคมีเหล่านี้ และสารได้ตัดสินใจให้บริษัทสารเคมีชื่อดังรับผิดชอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทย์คนละ 1,000 ล้านบาท และนอกจากนั้นยังมีคดียื่นฟ้องร้องค้างคาอีกนับหมื่นคดี
จากการพิสูจน์แล้ว พบว่า สารเคมี พาราควอต เป็น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งมีสารพิษเฉียบพลันอย่างมากต่อผู้ใช้ แค่โดนนิดเดียวก็อาจจบชีวิตได้ และไม่มียาที่รักษาได้ ทั้งยังเป็นสารพิษที่เป็นเรื้อรัง ก่อให้เกิด “โรคพาร์กินสัน” ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ การตั้งครรภ์ ถึงแม้จะมีการป้องกันแน่นหนา ใช้อุปกรณ์สะพายฉีดพ่น มีโอกาสสัมผัสสารเกินค่ามาตรฐานถึง 60 เท่า และนอกจากจะส่งผลต่อผู้ใช้แล้วยังส่งผลต่อการทำลายจุลินทรีย์ในดินอีกด้วย
สถาบันก่อมะเร็งระหว่างประเทศ(IARC) กำหนดให้ ไกลโฟเซต เป็นสารก่อมะเร็ง และเมื่อไกลโฟเซตรวมตัวเข้ากับโลหะจำพวกสารหนูในแหล่งน้ำ จะทำให้เกิดโรคไต เรื้อรัง และสารเคมีชนิดนี้ยังรบกวนต่อระบบการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
สำหรับ คลอร์ไพริฟอส มีพิษร้ายแรงเช่นกันซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการของระบบประสาท โดยเฉพาะแม่และเด็กที่เมื่อได้รับคลอร์ไพริฟอสในระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีพัฒนาการช้า ไอคิวต่ำ ความจำสั้น ตอบสนองช้า ฯลฯ
สารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพจึงมีมติยกเลิกการใช้ พาราควอต ไกลโฟเชต คลอร์ไพริฟอส โดยมีมติยกเลิกการใช้ โดนเป็นการรวบรมข้อมูลนำเสนอความคิดเห็นที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการยกเลิกใช้
- พาราควอต มีผู้ลงคะแนนให้ ยกเลิก 21 เสียง จำกัดการใช้ 5 เสียง
- ไกลโฟเชต มีผู้ลงคะแนนให้ ยกเลิก 22 เสียง จำกัดการใช้ 4 เสียง
- คลอร์ไพริฟอส มีผู้ลงคะแนนให้ ยกเลิก 19 เสียง จำกัดการใช้ 7 เสียง
และที่ผ่านมายังมีประชาชนมากถึง 82% สนับสนุนให้มีการ “แบนสารพิษ” และมีที่คัดค้าน เพียง 12 คนเท่านั้น
กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการ 2 เรื่อง หลังจากที่ประชุมมติเห็นชอบตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ การยกร่างประกาศกระทรวงว่าด้วยบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแล้วจัดให้มีการับฟังความคิดเห็น กับให้ไปพิจารณาระยะเวลาในการบริหารจัดการสารเคมีกัดศัตรูพืชที่ยังคงเหลืออยู่หลังวันที่ 1 ธันวาคม จะดำเนินการอย่างไรที่ส่งผลต่อชาวเกษตรกรและร้านจำหน่ายสารเคมีการเกษตรน้อยที่สุด
นายเฉลิมชัย กล่าวว่า สำหรับประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 ฉบับมีเนื้อหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมาตรการจำกัดการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด 6 มาตรการสารเคมีทั้ง 3 ชนิด กำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีทั้ง 3 ชนิดได้แก่ เกษตรผู้ใช้ ผู้รับจ้างพ่น ผู้ขาย คนนำเข้า ผู้ผลิต รวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้และผู้รับจ้างจะต้องผ่านการอบรมหรือผ่านการทดสอบตามหลักสูตรการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย
ข้อมูลอ้างอิง
- https://www.thairath.co.th/news/society/1677200
- https://news.thaipbs.or.th/content/285414
- https://www.hfocus.org/content/2019/10/17944
- https://www.matichon.co.th/economy/news_1719784
- https://www.bbc.com/thai/thailand-50134830
- https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9620000013924
- https://www.thairath.co.th/newspaper/columns/1675230