ขายออนไลน์เตรียมตัว! สนง. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดประชาพิจารณ์ร่างจรรยาบรรณธุรกิจออนไลน์ของอาเซียน เตรียมพร้อมรับมือการค้าอีคอมเมิร์ซ ที่เข้ามาทลายกำแพงการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคจากผู้ประกอบการอาเซียนเอาเปรียบ
เนื่องจากในแต่ละประเทศจะมีกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายกลางหรือข้อบังคับกลางที่คล้ายกับกรอบ (Framework) เข้ามากำกับดูแล โดย สคบ. จะเป็นผู้ขับเคลื่อนในฐานะผู้กำกับดูแลคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง
ซึ่งร่างจรรยาบรรณธุรกิจออนไลน์ของอาเซียนนี้ ไม่ใช่กฎหมายแต่เป็นแนวทางปฏิบัติ หากทำตามจะได้รับการโปรโมทผ่า่องทางต่างๆ ว่าเป็นร้านค้าที่มีความน่าเชื่อถือ
นอกจากนี้ยังจะส่งเสริมเรื่องความรู้ให้ประชาชนซื้อของภายใต้ร้านค้าที่มีจรรยาบรรณ
สำหรับข้อกำหนดทั้ง 15 ข้อนั้นประกอบไปด้วย
– ปฏิบัติต่อผู้บริโภคอย่างยุติธรรม ไม่มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจที่ผิดกฎหมาย หลอกลวง ผิดจรรยาบรรณ หรือไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
– ยึดมั่นในความรับผิด ให้ความสeคัญกับสิทธิของผู้บริโภคในระดับเดียวกับการประกอบธุรกิจแบบดั้งเดิม เช่น ร้านค้าขายปลีก-ส่ง
– ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ เคารพนโยบาย กฎหมาย และข้อกำหนดในประเทศที่เราจำหน่ายสินค้าหรือบริการ
– ปฏิบัติตามมาตรฐานของท้องถิ่น ปฏิบัติตามมาตรฐานที่จำเป็น และให้ข้อมูลรายละเอียดที่ถูกต้องในภาษาท้องถิ่นของประเทศที่เราจำหน่ายสินค้าหรือบริการ
– รับประกันคุณภาพและความปลอดภัย
– สื่อสารอย่างซื่อสัตย์และเป็นความจริง
– มีความโปร่งใสเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย เปิดเผยราคาที่เราเรียกเก็บ และไม่ซ่อนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ เช่น การแปลงสกุลเงิน ภาษีศุลกากร หรือการจัดส่ง)
– ติดตามสถานะการส่งมอบสินค้า
– เสนอทางเลือกในการยกเลิกคืนสินค้า
– ให้ความสำคัญกับข้อร้องเรียนของผู้บริโภคอย่างจริงจัง
– เก็บรักษาข้อมูลส่วนตัว
– มั่นใจว่าการชำระเงินทางออนไลน์มีความปลอดภัย
– หลีกเลี่ยงการส่งสแปมออนไลน์
– ไม่สร้างบทวิจารณ์ออนไลน์ปลอม
– ให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับความเสี่ยงในการทำธุรกรรมออนไลน์
โดยในงานดังกล่าวยังได้รับเกียรติจาก พล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดโครงการประชาพิจารณ์ร่างจรรยาบรรณธุรกิจออนไลน์ของอาเซียน ห้องแมจิก 3 มิราเคิลฯ อีกด้วย