รัฐเตรียมประกาศใช้ มิ.ย. 62 ไกด์ไลน์จัดระเบียบการค้าปลีก เพิ่มบทลงโทษค้าปลีกไม่เป็นธรรม ปรับสูงสุด 10% ของรายได้
ปกติแล้วตาม พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 จะมีแนวทางปฏิบัติทีให้เหล่าร้านค้านั้นปฏิบัติตาม เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบทางการค้าและบริการขึ้น ตามมาตรา 57 ที่ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทําการใดๆ อันเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น
แต่จากสถานการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมานั้น มักจะมีการร้องเรียนพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรมขึ้นระหว่างธุรกิจและซัพพลายเออร์ โดยไม่มีการกำหนดบทลงโทษ ทำให้ยกร่างฉบับใหม่ทีกำลังมีแนวโน้มจะประกาศใช้นี้จะมีการกำหนดบทลงโทษทางปกครองสำหรับพฤติกรรมการค้าไม่เป็นธรรมตามมาตรา 57 ให้ปรับไม่เกิน 10% ของรายได้ในปีที่ประทำความผิด (หากผิดในปีแรกจะไม่เกิน 1 ล้านบาท)
สำหรับมาตรา 57 ของเดิมมีการสั่งห้ามดังนี้
- กีดกันการค้าของผู้ประกอบการรายอื่นอย่างไม่เป็นธรรม
- ใช้อำนาจทางการตลาดต่อรองที่เหนือกว่าอย่างไม่เป็นธรรม
- กำหนดเงื่อนไขการค้าอันเป็นการจำกัดหรือขัดขวางการประกอบธุรกิจของผู้อื่น
- การกระทำในลักษณะอื่นตามที่ประกาศกำหนด
สำหรับร่างไกด์ไลน์ที่มีการาปรับปรุง
- กดราคาไม่เป็นธรรม เช่น กดราคารับซื้อต่ำเกินควร
- การเรียกรับผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม เช่ย เรียกค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมการวางสินค้า ค่าธรรมเนียมส่วนเพิ่ม เป็นต้น
- การคืนสินค้าไม่เป็นธรรม เช่น การคืนสินค้าจากการสั่งผลิตมาก เป็นต้น
- การใช้สัญญาการฝากขายที่ไม่เป็นธรรม
- การบังคับให้ซื้อหรือจ่ายเงินค่าสินค้าและบริการ เช่น บังคับให้ซื้อสินค้าบางส่วนหรือทั้งหมด บังคับให้จ่ายค่าส่งเสริมการขาย บังคับซื้อสินค้าและบริการที่เป็นการผลักภาระ
- การใช้พนักงานของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายอย่างไม่เป็นธรรม เช่น บังคับให้จ่ายเงินพนักงานไปประจำโดยไม่มีสาเหตุ
- การปฏิเสธการรับสินค้าที่สั่งซื้อหรือผลิตเป็นพิเศษ (House Brand)
- การปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เช่น การประวิงเวลาในการจ่าย ลดปริมาณการซื้อ หรือไม่ประกอบธุรกิจด้วย ถอนสินค้าจาชั้นวาง การนำข้อมูลหรือความลับทางการค้าหรือเทคโนโลยีมาใช้อย่างไม่เป็นธรรม หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่ไม่ปกติ
นอกจากนี้ ร่างไกด์ไลน์จะครอบคลุมธุรกิจค้าปลีกทุกประเภท ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ และร้านค้าปลีก ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกเฉพาะสินค้า เช่น ร้านขายขา แต่ไม่รวมสถานีปั้มน้ำมัน
โดยพฤติกรรมที่เข้าข่ายจะมีการพิจารณาข้อกำหนดดังนี้
- การกระทำที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน
- ไม่ใช่การดำเนินการตามธุรกิจปกติ
- เป็นเงื่อนไขที่ไม่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร
- ไม่ได้แจ้งข้อมูลให้คู่ค้าทราบล่วงหน้า
- ไม่มีเหตุผลชอบธรรมทางการตลาดหรือเศรษฐศาสตร์
อนึ่ง ไกด์ไลน์นี้ยังไมประกาศใช้ อยู่ในระหว่างเปดรับฟังความคิดเห็น 30 วันก่อนจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง คาดว่าจะประกาศช่วงมิถุนายน 2562