อายุความในคดีผู้บริโภค… กับการเจรจาไกล่เกลี่ย
สำหรับการฟ้องคดีผู้บริโภค ประชาชนในฐานะผู้บริโภคสามารถฟ้องได้ที่ศาลยุติธรรมทุกแห่งที่มีแผนกคดีผู้บริโภค ภายใต้ข้อกำหนดต่อไปนี้
- ผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียหายให้ยื่นฟ้องศาลในเขตอำนาจศาลที่เกิดเหตุหรือในภูมิลำเนาของ ‘จำเลย’
- กรณีประกอบธุรกิจจะฟ้องคดีผู้บริโภค ให้ยื่นที่เขตศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่
- กรณีความเสียหายไม่เกิน 300,000 บาท ให้ยื่นฟ้องที่ศาลแขวง แต่ถ้า 300,001 บาทขึ้นไปให้ยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัด แต่หากเกิดในกรุงเทพฯ สามารยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ทุกแห่ง
แต่ที่ผ่านมาหลายครั้งที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมักจะมีปัญหาเรื่องอายุความ เนื่องจากมีอายุความสั้น ในเบื้องต้นจะมีการฟ้องคดีผู้บริโภคต่อศาล จะต้องยื่นภายในความ 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หากเลยกำหนดนี้ถือว่าขาดอายุความ
สำหรับการเจรจาไกล่เกลี่ยนั้นส่วนมากศาลมาักจะให้เจรจาตกลงกันตั้งแต่นัดแรกที่ ‘จำเลย’ มาที่ศาลเลย เพื่อมีการเจรจาไกล่เกลี่ยเรื่องค่าเสียหายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้บริโภค โดยกฎหมายกำหนดไว้ว่า จะต้องเป็นการเจรจาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคโดยตรง ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องเดินทางทาด้วยตนเอง แม้ในความเป็นจริงมักจะส่งบุคคลอื่นมาแบบทั้งมีหนังสือมอบอำนาจและไม่มีหนังสือมอบอำนาจ อีกทั้ง ยังเป็นเพียงการเจรจาปากเปล่า อีกทั้ง ยังระบุว่า หากมีการเจรจาไกล่เกลี่ยเรื่องค่าเสียหายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้บริโภค ให้ถือว่าอายุความสะดุดหยุดลงระหว่างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกการเจรจา
เท่ากับว่า หากเกิดการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายระหว่างโจทก์และจำเลย หรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค จะทำให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างนั้นจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้บอกเลิกการเจรจา
“สิ่งเหล่านี้กลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายให้ผู้บริโภคส่วนมากแพ้คดี” ซึ่งพวกผู้ประกอบการจะให้ทนายอ้างว่าเป็นเพียงการพูดคุยกันถึงเรื่องอื่นๆ ผู้ที่ไปทำการไกล่เกลี่ยนั้นไม่ใช่ตัวแทนของตนโดยตรง หรืออ้างว่าไม่เคยเจรจาไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับค่าเสียหายเลย
ทางที่ดีที่สุดคือการที่ ผู้เสียหายหรือผู้บริโภค ควรจะใช้สิทธิทางศาลภายโดยเร็ว ซึ่งสิทธิทางศาล หมายถึง กรณีที่กฎหมายระบุไว้ว่าการกระทำบางอย่าง จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาติจากศาลก่อน