นี่คือ 5 คำสั่งเยียวยาจากศาลที่ให้ผู้ประกอบการต้องชดเชยผู้บริโภค โดยอ้างอิงจากหลักของกฎหมายพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา
สำหรับวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะเอื้อต่อการใช้สิทธิ์ของผู้บริโภคดำเนินการได้สะดวก เร็ว กว่าการฟ้องรูปแบบอื่น ซึ่งทุกคนสามารถฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่มีประจำอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลแพ่งทุกแห่งได้
นอกจากนี้ ยังสามารถฟ้องด้วยทนายหรือด้วยตัวเองก็ได้ หากฟ้องด้วยตัวเองก็ยังสามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แม้แต่ร้องขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง ดำเนินการฟ้องร้องแทนให้ก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม ทั้งตัวเองแทนที่ฟ้องและประชาชนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามทั้งสองกรณีต้องไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร ไม่เช่นนั้นศาลอาจมีคำสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในภายหลังได้
ไม่เพียงเท่านั้น คดีผู้บริโภค ยังกำหนดให้ภาระการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการต่อสู้คดีให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก
คดีแบบไหนที่ศาลจะรับดำเนินคดีและพิจารณาคดีเป็นคดีผู้บริโภค
– คดีแพ่ง ที่ผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจมีข้อพิพาทกันเนื่องจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
– คดีแพ่ง ที่ประชาชนได้รับความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
– คดีแพ่ง ที่เกี่ยวพันกับคดีทั้ง 2 ข้อข้างต้น
– คดีแพ่งอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นคดีผู้บริโภค
5 คำสั่งศาลคดีผู้บริโภคให้ผู้ประกอบชดเชยอะไรได้บ้าง
– เปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ แทนการแก้ไขซ่อมแซม
– ให้ทำประกาศเรียกรับสินค้าคืนจากผู้บริโภค
– ห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลือ เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่าย หรือให้ทำลายสินค้าที่เหลือ กรณีที่สินค้าอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยส่วนรวม หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจได้
– จ่ายค่าเสียหายเกินคำขอของผู้บริโภคได้หากเห็นว่าเกิดความเสียหายมากกว่าที่ได้ขอไป
– จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายที่แท้จริง