ธุรกิจตลาดแบบตรงไม่ใช่ขายตรง แต่คือ Direct marketing หรือการทำการตลาดด้วยการใช้สื่อช่องทางต่างๆ เป็นเครื่องมือนำเสนอขายสินค้าระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เช่น นำเสนอด้วยการใช้อีเมล์ โทรศัพท์มือถือ สื่อโซเชี่ยลมีเดีย การใช้ Search Engine เว็บไซต์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ การใช้โทรศัพท์ ข้อความเสียง โทรสาร โทรเลข ทีวี การส่งโบรชัวร์ ส่ง SMS/MMS ฯลฯ หรือสื่ออื่นใดที่ผู้ขายกับผู้ซื้อไม่พบเจอหน้ากัน อยู่ห่างกัน หรือแม้แต่เจอหน้ากันแต่ใช้สื่อนำเสนอแทนก็จัดเป็นตลาดแบบตรง
โดยมาตรา 27 ตีความหมายได้ว่า ผู้ค้าต้องจดทะเบียนเป็นผู้ค้าให้เรียบร้อยก่อน ถึงจะเปิดขายรับรายการสั่งซื้อได้
คุณสมบัติ
ผู้ที่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ต้องเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
1. ผู้ที่ขอยื่นจดทะเบียนต้องไม่เคยถูกเพิกถอนทะเบียนมาก่อนภายใน 5 ปี
2. ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท ถ้าเป็นบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
3. หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบดำเนินการต้องไม่มีลักษณะข้อห้ามดังต่อไปนี้
3.1 ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
3.2 ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
3.3 ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่โทษที่กระทำความผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
3.4 มีหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วนอื่นหรือบริษัทอื่น
3.5 เคยเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนหรือบรษัทที่เคยถูกเพิกถอนทะเบียนในระยะ 5 ปี ก่อนวันยื่นจดทะเบียน
4. ต้องวางหลักประกันแก่นายทะเบียน เป็นเงินสด หรือพันธบัตร ตามจำนวนที่จะกำหนดต่อไปในกฎกระทรวง
สถานที่จดทะเบียน
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (เป็นหน่วยงานเทียบเท่าระดับกรมขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี) ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ฯ ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่
เอกสารที่ต้องเตรียม
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนและวัตถุประสงค์นิติบุคคล
3. สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ และสำเนาบัญชีผู้ถือหุ้น
4. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล (กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคล)
5. สำเนาสัญญาเช่าหรือการขอใช้พื้นที่ แผนที่ตั้ง ภาพถ่ายสถานที่ติดต่อของ
สำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)
6. หนังสือมอบอำนาจ ระบุอำนาจหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจอย่างชัดเจน (กรณีให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอ)
7. สินค้าหรือบริการที่ต้องการนำเสนอขาย รวมถึงเอกสารหลักฐานแสดงที่มาของสินค้าหรือบริการ
8. เอกสารหลักฐานการได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือตามที่กฎหมายกำหนดในสินค้าหรือบริการ (ถ้ามี)
9. คำอธิบายวิธีการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งรวมถึงตัวอย่างข้อความที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการนั้น ทั้งนี้ ข้อความดังกล่าวจะต้องมีการระบุถึงข้อความต่อไปนี้ปรากฏอยู่ด้วยได้แก่
9.1 วิธีการสั่งจองหรือสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ
9.2 วิธีการชำระเงินของผู้บริโภค
9.3 วิธีการส่งสินค้า
10. ตัวอย่างเอกสารการซื้อขาย (ใบเสร็จรับเงิน)