การเตรียมตัวของผู้บริโภค เพื่อจะมาร้องทุกข์เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ หากเอกสารหลักฐานที่ผู้บริโภค นำมาไม่ครบถ้วน จะทำให้ผู้บริโภคเสียเวลาในการยื่นเรื่องร้องเรียน
ระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 4 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับการคุ้มครอง 5 ประการ ได้แก่
- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
ดังนั้นการร้องทุกข์ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นเรื่องที่ชอบธรรม ที่ผู้บริโภคควรกระทำ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ความเสียหาย และเพื่อเป็นการลงโทษหรือปรามมิให้ ผู้ประกอบธุรกิจเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มีการแก้ไขเพิ่มเติม เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 4 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับการคุ้มครอง 5 ประการ ได้แก่
- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
ดังนั้นผู้บริโภคสามารถร้องทุกข์เพื่อให้ผู้ปรกอบการ
การร้องทุกข์ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นเรื่องที่ชอบธรรม ที่ผู้บริโภคควรกระทำ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ความเสียหาย และเพื่อเป็นการลงโทษหรือปรามมิให้ ผู้ประกอบธุรกิจเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
การเตรียมเอกสาร หลักฐานของผู้ร้องเรียน
ผู้ร้องเรียนจะต้องเตรียมเอกสารหลักฐานให้พร้อม เพื่อจะนำมาใช้ประกอบกับการบันทึกร้องเรียน ดังนี้ (เอกสารทั้งหมดให้ถ่ายสำเนา 5 ชุด)
- บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการ
- ทะเบียนบ้านผู้ร้องเรียน
- ที่อยู่ที่สามารถติดต่อกับผู้ประกอบธุรกิจ
- หนังสือจอง,สัญญาจอง,สัญญาจะซื้อขาย
- เอกสารโฆษณา,ภาพถ่าย (ถ้ามี)
- ใบเสร็จรับเงิน,เอกสารรับเงินเรียงรับดับการชำระค่างวด
- หนังสือ, จดหมายโต้ตอบระหว่างผู้ร้องเรียน กับผู้ประกอบธุรกิจ (ถ้ามี)
- เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาหนังสือรับรอง ทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น
- เตรียมไปรษณียบัตร จำนวน 1 แผ่นพร้อมกรอก ชื่อ -ที่อยู่ของ ผู้ร้องเรียน
- เตรียมอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท
การยื่นเรื่องร้องเรียน
ผู้บริโภคยื่นเรื่องร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค(กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ผู้ร้องเรียนกรอกรายละเอียด ในแบบบันทึกคำร้องเรียนพร้อมแนบเอกสาร (เอกสารลงชื่อรับรองสำเนาทุกฉบับ) มอบให้เจ้าหน้าที่
- ผู้ร้องเรียนกรอกรายละเอียด ในแบบหนังสือมอบอำนาจ (มอบอำนาจให้ สคบ. ดำเนินการแทนผู้ร้อง) พร้อมติดอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท
- กรณีผู้บริโภคไม่สามารถร้องเรียนด้วยตนเองได้ ผู้มาร้องเรียนแทน จะต้องมีหนังสือรับรองมอบ อำนาจจากผู้บริโภค (พร้อมติดอากรแสตมป์จำนวน 30 บาท) นำมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ด้วย