ข้อความโฆษณาต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความเป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค และนับว่าเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมเป็นส่วนรวม
กลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์เป็นเครืองสำคัญอย่างมาก เนื่องจากทำให้ผู้บริโภคสามารถรับข้อมูลข่าวสารของสินค้าและบริการชนิดนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ซึงปัจจุบันการโฆษณาออนไลน์อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมกำกับดูแลได้ยากกว่าสื่อเดิมอย่างมาก
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ได้ระบุชัดเจน เพื่อป้องกันเรื่องการโฆษณา ประกอบด้วยการใช้ภาพ ข้อความในสื่อใดสื่อหนึ่ง คุ้มครองผู้บริโภคให้เข้าใจอย่างถูกต้อง และเป็นผลดีกับผู้ประกอบการ
“มาตรา 22 การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ”
“มาตรา 23 การโฆษณาจะต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”
และข้อความที่เป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค โดยแยกออกได้ใน 6 ลักษณะ
- ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
- ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ โดยใช้ หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการสถิติหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเป็นความจริง หรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม
- ข้อความที่เป็นการสนับสนุน โดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ในวัฒนธรรมของชาติ
- ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยก หรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
- ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนด การห้ามโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ใช้อ้างอิงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย
- โฆษณาไม่ทำให้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกาย หรือจิตใจ หรืออันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค