บทเรียนจากมาบตาพุดถึง PM2.5 กับการฟ้องร้องที่ประชาชนอาจได้รับชัยชนะ แต่การแก้ไขสิ่งแวดล้อมยังไม่เห็นผล การแก้ไขที่พวกเขาไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองคนเดียว
กว่าที่คนเราจะตื่นตัวด้านมลพิษได้ก็คงวันที่เราได้เผชิญหน้ากับมันแล้วอย่างจริงจัง และก็ถึงในวันที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาวต่อมนุษย์และสัตว์
หากกลับไปดูกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภคจะพบว่า มาตรา 59 ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ได้ระบุว่า “ในกรณีที่ปรากฏว่าท้องที่ใดมีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาด เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดำเนินการ ควบคุม ลด และขจัดมลพิษได้”
โดยกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วตามกฎหมายมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ก็คือ คดีชัยชนะประวัติศาสตร์ของประชาชนที่ศาลสั่งควบคุมมาบตาพุด ให้เป็นเขตมลพิษร้ายแรง
ซึ่งหากย้อนไปดูคำพิจารณาคดีจะพบว่า ศาลพิจารณาจากประเด็นเรื่องที่ ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ประกาศเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่ตำบลมาบตาพุด และเทศบาลเมืองมาบตาพุด ตลอดจนพื้นที่ข้างเคียง เป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ และกลายเป็นการพิจารณาคดีที่ศาลปกครอง โดยผู้ถูกฟ้องคือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฐานละเลยไม่ประกาศให้พื้นที่ตำบลมาบตาพุด และเทศบาลเมืองมาบตาพุด ตลอดจนพื้นที่ข้างเคียงที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
นอกจากนี้ ยังมีการฟ้องศาลให้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทำการประกาศให้พื้นที่ตำบลมาบตาพุด และเทศบาลเมืองมาบตาพุด ตลอดจนพื้นที่ข้างเคียงที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงเป็น ‘เขตควบคุมมลพิษ’
โดยโจทย์ฟ้องในตอนนี้คือตัวแทนประชาชนชาวมาบตาพุดจาก 11 ชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมรวม 27 คน และศาลปกครองได้ทำการพิเคราะห์เอกสารก่อนตัดสินคดีจากรายงานเอกสารของกรมควบคุมมลพิษที่แนบท้ายการประชุมของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พบว่า จากปัญหามลพิษทางอากาศเจอสารอินทรีย์ระเหยมากกว่า 40 ชนิด เป็นสารก่อมะเร็ง 20 ชนิด และใน 20 ชนิดเจอสารอินทรีย์ระเหยก่อมะเร็งที่มีค่าเกิน ระดับการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในบรรยากาศจำนวน 19 ชนิด
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีรายงานจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติที่มีข้อมูล ระบุว่า ในโครงการศึกษาระบาดวิทยาของโรคมะเร็งในประเทศไทยของ จังหวัดระยอง ปี พ.ศ. 2540 – 2544 พบสถิติการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิด และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวของอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองสูงกว่าอำเภออื่นๆ เป็น 3 เท่า และ 5 เท่า
อย่างไรก็ตาม ผ่านมาจนถึงวันนี้ แม้ศาลจะมีการประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ แต่ในความเป็นจริงแล้วจากข้อมูลของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศทที่รายงานสถานการณ์มลพิษอุตสาหกรรมปี 2558 – 2559 พบว่า พื้นที่เขตควบคุมมลพิษมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบที่ได้รับผลกระทบยังอยู่ในปัญหาขั้นวิกฤต และยังไม่มีแนวโน้มจะดีขึ้น จากการตรวจพลทั้งสารอินทรีย์ระเหยง่าย สารที่รับรู้กันว่าเป็นสารก่อมะเร็ง 4 ชนิด กำมะถันในอากาศรวมทั้งหมด 20 ชนิด และสารเบนซีน สาร 1, 3 บิวทาไดอีน สารคลอโรฟอร์ม และสาร 1, 2 ไดคลอโรอีเทน ส่วนแหล่งน้ำปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยง่าย โลหะหนัก (พบทั้งน้ำบาดาลและบ่อตื้น ผิวหน้าดิน) สารหนูเกินค่ามาตรฐาน โครเมียม แมงกานีส ตะกั่ว และสังกะสี ยังไม่รวมการตรวจตะกอนดินชายฝั่งทะเลที่พบว่ามีการปนเปื้อนของสารโลหะหนักหลายชนิด
เรื่องนี้จะส่งผลต่อสุขภาพแน่นอนเพราะอัตราการเกิดโรคมะเร็งเกือบทุกชนิดของประชากรในระยอง นั้นสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประชากรในพื้นที่อื่นทั่วประเทศอย่างมีนัยยะ ซึ่งตาม รายงาน ไม่ได้มีเพียงแค่ระยองเท่านั้น แต่ในกรุงเทพฯ ที่ตอนนี้กำลังเผชิญกับฝุ่นหมอกมรณะ PM2.5 ก็ได้รับสถิติที่มีนัยยะบางอย่างเช่นเดียวกัน “กรุงเทพมหานคร และ จ.ระยอง จะมีผู้เป็นมะเร็งสูงที่สุดของประเทศ เนื่องจากสภาวะแวดล้อม มลภาวะ ความเครียด การดำเนินชีวิต”
แม้คดี ‘มาบตาพุด’ จะสร้างความหวังให้ประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเสียงของตัวเองในฐานะผู้ถูกละเมิด แต่การแก้ไขต่างๆ ที่เกิดขึ้นพวกเขาก็ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองคนเดียว เพราะส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับนโยบายและกฎหมาย โดยเฉพาะข้อสัญญาต่างๆ ที่รัฐทำไว้กับเอกชน
หรือแม้แต่ แนวทางการแก้ไขเรื่องมลพิษ PM2.5 ของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งก่อนที่จะถึงวิกฤติในวันนี้ ทางรัฐเองก็ได้มีโครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ออกมาแล้ว ซึ่งทำการสำรวจตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปี 2560 และมีการคาดการณ์ว่า ทำขึ้นเพื่อเตรียมการรับมือและลดความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่อาจเกิดขึ้นอีก ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 และปีต่อๆ ไป

บทที่1
ตามโครงการยังบอกแนวทางลดฝุ่นและมาตรการต่างๆ ที่สมควรทำให้เกิดขึ้นชัดเจนอีกด้วย คำถามก็คือ การนำมาใช้ของหน่วยงานต่างๆ นั่นแหละ

ความคุ้มค่า

มาตรการแก้ไข

มาตรการแก้ไข

มาตรการแก้ไข

มาตรการแก้ไข