สรุปมาตรการจัดการระยะยาวจากกรมควบคุมมลพิษ เน้นย้ำเรื่องการเผ่าไหม้เครื่องยนต์
เมื่อกลับไปดูที่ โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล โดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ‘ไอเสียดีเซล’ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหา ‘ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน’ (PM 2.5) ในกรุงเทพฯ และเมื่อดูที่มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงและมาตรฐานไอเสียรถยนต์ของไทยตอนนี้อยู่ระดับ Euro 3 และ Euro 4 ที่ทำให้ปล่อยมลพิษ จากมากมาตรฐานไอเสียรถยนต์ที่มีค่ากำมะถันสูงอยู่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ควรปรับไปที่มาตรฐาน Euro 5 และ Euro 6 ที่ปล่อยมลพิษน้อยกว่า และดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าฝุ่นละเอียด PM2.5 มีอันตรายมากกว่าฝุ่นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะฝุ่นจากไอเสียรถดีเซลถูกจัดว่าเป็นสารก่อมะเร็ง เพื่อปกป้องผู้คนในชุมชนจากความเสี่ยงที่เกิดจากควันไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลและยังลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ได้ ซึ่งยังต้องทำควบคุมไปกับการกำหนดเขตปลอดมลพิษ การลดแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งในภาครัฐและภาคประชาชน ผลักดันให้ใช้รถโดยสาร NGV/EV/ไฮบริด ปรับลดอายุการตรวจสภาพรถใช้งาน เพิ่มภาษีรถยนต์เก่า จัดโซนนิ่งจำกัดรถเข้าเมืองช่วงเวลาเร่งด่วน และเข้มงวดการเผาในที่โล่ง
ด้านผลที่ได้หลังจากปรับตามแผนคือ
- ปรับปรุงมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงเป็น Euro 5/6 ภายใน พ.ศ. 2566 ลด PM2.5 ลง 5% 33% 58% 74% 82% และ 86% ในปี พ.ศ. 2568 2573 2578 2583 2588 และ 2593 ตามลำดับ Garivait (2018)
- ลดการเผาในที่โล่ง แหล่งที่มาของฝุ่น PM2.5 24.6-37.8% Kim Oanh (2007, 2017) ควบคุมแหล่งที่มาของฝุ่น PM2.5 1 ใน 3
- ปรับปรุงมาตรฐานเตาที่ใช้เชิงพาณิชย์และในครัวเรือน เปลี่ยนเป็ปรับปรุงและส่งเสริมเตามาตรฐานไร้มลพิษ เนื่องจากประเทศไทย (ชนบท/เมือง 4/1) รับก๊าซพิษ 16 ล้านคน และเสียชีวิต 24,520 คนต่อปี
สำหรับผลเสียที่เกิดขึ้นจากฝุ่น PM2.5 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ลองทำแบบจำลองขึ้น และพบว่า PM2.5 สามารถทำให้ประชาชนเสียชีวิตได้มากกว่า 1 ล้านคน และอายุขัยของประชากรโลกลดลงโดยเฉลี่ย 8.6 เดือน