สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผ่านกฎหมาย พ.ร.บ. แรงงานฉบับใหม่ หรือกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ก่อนเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยครอบคลุม 4 ประเด็นสำคัญ สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ ประกอบไปด้วย การเพิ่มค่าชดเชยเลิกจ้าง สิทธิลาคลอดบุตร สิทธิวันลากิจ และกรณีการเปลี่ยนตัวนายจ้าง อ่านเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับเต็มได้ที่ >> ร่าง
สรุปสาระสำคัญ
- มาตรา 2 บังคับใช้ทันทีในวันถัดไปหลังกฎหมายฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- มาตรา 70 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินอื่นๆ ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่เลิกจ้าง
- มาตรา 75 นายจ้างต้องจ่ายเงินไม่น้อยกว่า 75 % ของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ โดยต้องจ่ายก่อนหยุดกิจการ และภายใน 3 วันก่อนหยุดกิจการ หากมีการนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย
- มาตรา 14 กรณีเลิกจ้าง
- หากทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าชดเชย 30 วัน
- หากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
- หากทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน
- หากทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน
- หากทำงานติดต่อกันจนครบ 10 ปีขึ้นไป (ไม่เกิน 20 ปี) จ่ายเงินชดเชยสูงสุด 300 วัน
- หากทำงานติดต่อกันจนครบ 20 ปีขึ้นไป จ่ายเงินชดเชยสูงสุด 400 วัน
- มาตรา 34 และ 57/1 หากลากิจธุระจำเป็นสามารถลาได้ 3 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้างและต้องได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ
- มาตรา 41 และ 59 หากลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ลาก่อนคลอด หลังคลอดได้ 98 วัน จากเดิม 90 วัน และได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ แต่ไม่เกิน 45 วัน และไม่นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลา
- มาตรา 53 ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด หากทำงานในลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่เทียบแล้วมีค่าเท่าเทียมกัน (ตามมาตรา 70 การจ่ายจะเป็นไปตามที่ตกลงกันว่า จ่ายเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมงที่ไม่เกินรอบการจ่าย 1 เดือน ให้จ่ายเดือนละไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง) หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน ในบางอาชีพ ที่ทำงานเกินวลาปกติ ลูกจ้างจะต้องฟ้องขอ โดยของเดิมดอกเบี้ยให้ร้อยละ 5 ต่อปี แต่กฎหมายใหม่ให้ได้สูงสุดถึง 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
- มาตรา 120 ย้ายสถานประกอบการ ต้องแจ้งลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนย้าย หากนายจ้างไม่ปิดประกาศ ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หากลูกจ้างไม่อยากตามไป ก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ และได้สิทธิชดเชยตาม 6 อัตรา
ในส่วนของกฎหมายฉบับเก่านั้นมีการใช้มาแล้วเกือบ 20 ปี ทำให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมให้ตอบโจทย์กับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปมากขึ้น