กรณีที่ผู้บริโภคต้องการยื่นฟ้องเอง
ผู้บริโภคสามารถยื่นฟ้องด้วยวาจาด้วยตนเองก็ได้ไม่จำเป็นต้องมีทนาย ซึ่งจะมีเจ้าพนักงานคดีเป็นผู้ทำบันทึกรายละเอียดของคำฟ้อง จากนั้นให้ผู้บริโภคในฐานะโจทย์ลงลายมือชื่อรับรอง ซึ่งโจทย์จะมีการยื่นหลักฐานพยานแนบมาพร้อมคำฟ้องด้วย เช่น หนังสือรับรองบริษัท เอกสารเกี่ยวกับสัญญา ใบเสร็จ ภาพแคปเจอร์จากแชทสนทนา ภาพรูปถ่ายสินค้า ภาพคำสัญญาหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
คดีประเภทไหนเป็นคดีผู้บริโภค ศาลถึงจะรับพิจารณา
ประการแรก ต้องเป็นคดีระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจมีข้อพิพาทกัน เนื่องจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
ประการที่สอง คดีที่ประชาชนได้รับความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
ประการที่สาม ต้องเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีทั้ง 2 ข้อข้างต้น
ประการสุดท้าย เป็นคดีแพ่งอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นคดีผู้บริโภค
เอกสารที่ผู้บริโภคต้องเตรียม
1. หลักฐานการยื่นฟ้องทั้งหมด
2. เอกสารประกอบคำฟ้อง ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล (หากมีการเปลี่ยน ชื่อ-นามสกุล)
*ผู้บริโภคได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสิ้น เว้นแต่นำคดีมาฟ้องโดยไม่มีเหตุอันควร หรือการเรียกค่าเสียหายมากเกินควร หรือมีพฤติการณ์ที่ศาลเห็นควรเรียกเก็บค่าฤชาธรรมเนียมทั้งที่เป็นการเรียกเก็บทั้งหมด หรือเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น
ผู้บริโภคสามารถยื่นฟ้องได้ที่ ‘ศาลผู้บริโภค’ หรือ ‘ศาลแผนกคดีผู้บริโภค’
โดยผู้บริโภคจะยื่นเรื่องได้ที่แผนกคดีผู้บริโภค ณ ศาลผู้บริโภค ในศาลประจำจังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือศาลอื่นๆ นอกเขตก็ได้ หากความเสียหายไม่เกิน 300,000 บาทให้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวง และหากความเสียหายเกิน 300,000 บาทให้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด หรือศาลแพ่งในกรุงเทพฯ คลิก >> ลิงก์รวบรวมศาลทั้งหมด https://www.coj.go.th/home/linkcoj.html
ขั้นตอนหลังการยื่นฟ้อง (คดีผู้บริโภคพิจารณารวดเร็วและกระชับ)
1. หลังศาลรับฟ้องจะนัดวันพิจารณาคดี
2. ออกหมายเรียกจำเลยมาให้การต่อศาล (พ่อค้า แม่ค้า แบรนด์ต่างๆ สถานพยาบาล โรงพยาบาล และร้านค้า) เพื่อสืบพยานและไกล่เกลี่ยวันเดียวกัน
3. หากผู้ประกอบการต้องการอุทธรณ์สามารถทำได้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแค่มีการพิพาษาศาลชั้นต้น (หากมีมูลค่าเกินสองแสนสามารถยื่นต่อศาลชั้นฎีกาได้)