หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
เวลาที่ผู้บริโภคเดือดร้อนจะมีหน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคโดยตรงอยู่หลากหลายและกระจายตามประเภทของการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับอาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง เป็นหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณาสุข ที่ต้องเข้ามาดูแล กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็ เป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องเข้ามาดูแล กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับเจ้าของธุรกิจจัดสรรที่ดิน อาคารชุด เป็นหน้าที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยเข้ามาดูแล กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับคุณภาพหรือราคาสินค้าอุปโภค บริโภค เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล หรือกรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการประกันภัยหรือประกันชีวิต เป็นหน้าที่ของกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล
ปกติแล้วเวลาที่พวกเราเดือดร้อนก็มักจะดิ่งเข้า สคบ. กันท่าเดียวใช่ไหม? แต่ความจริงแล้วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคมีกฎหมายเฉพาะที่ทำให้หน่วยงานต่างๆ ทำงานไม่ซับซ้อนหรือขัดกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานกันอยู่ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ ตามตัวอย่างข้างต้น ซึ่งหากหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนิน การไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้เดือดร้อนสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สั่งการแก้ไขแทนได้ เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วยงานคุ้มครองด้านการ บริโภคสินค้าและบริการทั่วไป นอกเหนือจากการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ
ปัญหาอะไรควรร้องเรียนที่ไหน?
ปัญหา
ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอางค์ เครื่องมือแพทย์ วัตถุเสพติด วัตถุมีพิษ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา http://www.fda.moph.go.th
ปัญหา
ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านการรักษาพยาบาลหรือบริการของแพทย์
สำนักงานแพทย์สภา http://www.tmc.or.th
บริการสถานพยาบาลเอกชน (คลีนิกลดความอ้วน โพลีคลีนิก โรงพยาบาลเอกชน)
กองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข http://mr-dhss.moph.go.th/home/
ปัญหา
ราคาสินค้า การกักตุนสินค้า ไม่ติดป้ายราคา มาตราชั่ง ตวง วัด คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น
กรมการค้าภายใน http://www.dit.go.th
ปัญหา
อีคอมเมิร์ซ พาณิชอิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า http://www.dbd.go.th
ปัญหา
การประกันภัยประเภทต่างๆ
กรมการประกันภัย http://www.doi.go.th
ปัญหา
คุณภาพและมาตราฐานของผลิตภัณฑ์
สำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม http://www.tisi.go.th
ปัญหา
สอบถาม ร้องเรียน การอนุญาตจัดสรรที่ดิน
กองควบคุมธุรกิจที่ดิน กรมที่ดิน http://www.dol.moi.go.th
ปัญหา
คดีด้านเศรษฐกิจ
กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี http://www.ecotecpolice.com/
ปัญหา
ด้านการท่องเที่ยว
สำนักงานตำรวจท่องเที่ยว http://home.touristpolice.net/
ปัญหา
ด้านการขนส่งมวลชน
ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ขนส่งมวลชน กรุงเทพฯ http://www.bmta.co.th/
กระทรวงคมนาคม http://portal.mot.go.th/
ปัญหา
ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านการปกครอง
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย http://www.dopa.go.th
ข้อมูลการติดต่อ
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา | 0-2143-9770 |
– ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ | 0-2143-0401-04 |
– ฝ่ายควบคุม | 0-2143-0398-0400 |
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก | 0-2143-9768 |
– ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ | 0-2143-0391-93 |
– ฝ่ายควบคุม | 0-2143-0387-89 |
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา | 0-2143-9767 |
– ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ | 0-2143-0380-82 |
– ฝ่ายควบคุม | 0-2143-0377-78 |
กองกฎหมายและคดี | 0-2143-9762-63 |
– ส่วนกฎหมาย | 0-2143-0363, 0-2143-0354 |
– ส่วนคดี | 0-2143-0359-61 |
– ส่วนบังคับคดี | 0-2143-0359-61 |
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง | 0-2141-3420-22 |
การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้บริโภค
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา 0-2629-7037-9
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก 0-2629-7052-5
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา 0-2629-7065-8
กองนิติการ (ฝ่ายกฎหมาย) 0-2629-8259-60
หรือสายด่วน 1166